เช็คพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์” เสี่ยงสมาธิสั้น !!

เด็กสมัยนี้เก่งเร็ว จนผู้ใหญ่หลายคนคาดไม่ถึง ยิ่งในยุคดิจิทัล เด็กตัวเล็ก ๆ หลายคนก็สามารถใช้นิ้วสไลด์แท็บเล็ต หรือ มือถือของคุณพ่อ-คุณแม่ ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ในยุคที่ความก้าวหน้า และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น เราจึงจำเป็นต้องใส่ใจและดูแลลูกมากขึ้น เพราะนอกจากประโยชน์การใช้งานของโซเชียลมีเดีย หากใช้งานเกินพอดี ก็จะส่งผลกระทบได้เช่นกัน โดยเฉพาะการปล่อยให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟนจนกลายเป็น “เด็กติดโทรศัพท์”

การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือ และ ทิ้งลูกอยู่กับหน้าจอเพียงลำพังนานเกินวันละหลายชั่วโมง อาจส่งผลให้เด็กจดจ่อกับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป และไม่ยอมละสายตา เพื่อสนใจกับสิ่งรอบตัวอื่นรอบข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวในสื่อต่าง ๆ บนหน้าจอมือถือ หรือ แท็ปเล็ต ที่เปลี่ยนแปลงและมีความรวดเร็ว จะทำให้เกิดปัญหาการใช้สมองในส่วนความทรงจำลดลง และ หากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน จะสะสมให้เด็กเกิดอาการ “สมาธิสั้น”  ได้

เช็คสัญญานพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์ ”

  • แอบเล่นมือถือ ด้วยการหาที่เล่นโดยไม่ให้พ่อแม่เห็น เช่น ในห้องนอน
  • ใช้เวลาเล่นมือถือนานขึ้น และ เกิดอารมณ์หงุดหงิดเมื่อถูกพ่อแม่ต่อว่า ห้ามไม่ให้เล่น หรือ ถูกสอดส่องพฤติกรรมจากการเล่นสมาร์ทโฟน
  • ตั้งหน้าตั้งตารอเวลาที่จะได้เล่นมือถือ หรือ ขอเล่นมือถือจากพ่อแม่บ่อย ๆ
  • มีการแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว อารมณ์เสียง่าย หงุดหงิด หดหู่ เมื่อไม่ได้เล่น และ จะหายทันทีเมื่อพ่อแม่ยอมให้ลูกได้เล่น
  • ไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ หรือ กิจกรรมรอบตัว เพราะมัวแต่เล่นมือถือ หรือ ขาดสมาธิระหว่างทำการบ้าน เพราะชอบเปิดสมาร์ทโฟนควบคู่ระหว่างทำการบ้าน
  • มีอาการตื่นสายและรู้สึกอ่อนเพลียในตอนเช้า

สาเหตุด้านพฤตกรรมเหล่านี้ อาจมีส่วนทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะ สมาธิสั้น และ นอกจากนี้ การที่เด็กติดมือถือ หรือ ติดเกม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กมีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่นได้


5 ข้อเสีย หากลูกติดแท็บเล็ต ติดมือถือ

1. ร่างกายไม่พัฒนาตามวัย
การที่ลูกติดสิ่งเหล่านี้มากเกิน จะส่งผลให้ลูกมัวแต่เล่นมือถือ เล่นแท็บเล็ต จนไม่ได้ออกไปออกกำลังกาย จึงส่งผลให้ร่างกายเติมโตได้ไม่เต็มที่ และ ยังทำให้ลูกร่างกายไม่แข็งแรงอีกด้วย

2. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หงุดหงิดง่าย
เพราะ หน้าจอที่ลูกดูบ่อยๆ เคลื่อนไหวรวดเร็ว เป็นดังใจตามที่ลูกต้องการ จึงทำให้ลูกเป็นเด็กไม่มีความอดทน รอคอยไม่เป็น หงุดหงิดง่าย

3. เข้าสังคมปกติได้ยาก
ถ้าลูกติดอินเตอร์เน็ตมากๆ จะทำให้เข้าสังคมไม่ได้ เพราะไม่ค่อยได้พบเจอเพื่อนบ้าน ไม่มีเพื่อนในหมู่บ้าน ทำให้ขาดการปรับตัวเมื่อต้องเข้าสู่สังคม ปรับตัวเข้าหาผู้ใหญ่ไม่เป็น การใช้ชีวิตพื้นฐานในการอยู่ในสังคมก็จะแย่ลง และ อยู่กับคนอื่นไม่ได้ในที่สุด

4. อาจทำให้เป็นเด็กอ้วน
เด็กที่ติดทีวี แท็บเล็ตมัก จะอ้วนเกินไป เวลาจะกินข้าวก็จะนั่งดูแท็บเล็ตหรือทีวีไปด้วย จึงทำให้การกินอาหารเพลิดเพลินกินไปได้เรื่อยๆ มีพ่อแม่คอยป้อนให้กิน หรือ เด็กบางคนก็ไม่ยอมนั่งกินข้าวดีๆ จะกินแต่ขนมที่กินได้ง่ายๆไม่เสียเวลาในการดู 

5. ขาดสมาธิ
เด็กจะไม่มีใจจดจ่อกับกิจกรรมอะไรเลย ที่ต้องใช้สมาธิ หรือ สมองในการแก้ปัญหา เพราะเคยเจอแต่หน้าจอที่แสดงสีสันสดใส  เคลื่อนไหวได้รวดเร็วทันใจ  ถ้าต้องทำกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาคิด เด็กจะทำไมได้ และ จะหงุดหงิดง่ายอีกด้วย


แนวทางลดความเสี่ยงพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์ ” ไม่ให้เกิด อาการสมาธิสั้น

  • อย่าปล่อยให้ลูกเล่นมือถือคนเดียว

เวลาให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ อย่าคิดแต่จะให้ลูกเล่นเพื่อให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ หรือ หยุดร้องไห้เท่านั้น ผู้ปกครองควรสอดส่องดูแล และ นั่งอยู่กับลูกเวลาเล่นด้วย  คอยดูว่าเขาเล่นอะไร มีความเหมาะสมมั้ย อธิบายและให้คำแนะนำกับลูกระหว่างเล่นด้วยเสมอ  จะได้เป็นการเสริมพัฒนาการ และ เรียนรู้ไปในตัว เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ  ป้องกันการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ที่อาจกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้

  • หากิจกรรมอื่นทำร่วมกัน

นอกจากโทรศัพท์มือถือแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ ถ้าหากลูกเริ่มติดจอมากจนเกินไปแล้ว ให้ลองหากิจกรรมอื่นทำร่วมกันในครอบครัว อาจจะไปเที่ยวข้างนอกบ้าน ไปออกกำลังกายด้วยกัน หรือ ลองสังเกตจากเกมที่ลูกเล่น แล้วหากิจกรรมที่ใกล้เคียงกับเกมมาเล่นกับลูกแทน เพื่อให้ลูกละสายตาจากหน้าจอ ออกมาสนใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น

  • ให้เล่นได้ แต่อย่าให้เป็นเจ้าของ

การให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรให้ลูกเป็นเจ้าของโทรศัพท์เครื่องนั้นเด็ดขาด เพราะถ้าหากลูกเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของสิ่งนั้นแล้ว เขามักจะโมโหเวลาพ่อแม่สั่งให้หยุดเล่น จนทำให้ไม่สามารถควบคุมการใช้งานของลูกได้เลย ดังนั้นพ่อแม่จะต้องแสดงให้เห็นเลยว่า เป็นเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้อยู่นะ เพียงแต่ให้ลูกๆ ได้เล่นบ้างในบางเวลาเท่านั้น

  • พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

สำหรับพ่อแม่ยุคดิจิทัลนั้น อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะวางโทรศัพท์มือถือไว้ห่างจากสายตา เพราะถ้าพูดตามตรงแล้ว โทรศัพท์มือถือ ก็เหมือนจะกลายมาเป็นอีกอวัยวะหนึ่งของเราไปแล้ว ใช้ติดต่อสื่อสารหรือทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่หากต้องควบคุมพฤติกรรมของลูกน้อย พ่อแม่ก็ควรจะต้องมีวินัย และ เป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับลูกเสียก่อน นอกจากจะได้แสดงให้ลูกเห็นแล้ว การที่พ่อแม่วางโทรศัพท์มือถือลง ก็จะทำให้มีเวลาไปดูแลลูกมากขึ้นด้วย

  • กำหนดเวลาเล่นไม่เกินวันละ 2 ชม.

ผู้ปกครองควรกำหนดเวลาเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจนไปเลย เพื่อเป็นการฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกน้อยไปด้วย โดยปกติแล้วไม่ควรให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดทั้งวัน ควรให้ได้แค่วันละ 1 ชั่วโมง และ ในวันหยุดอาจจะเพิ่มเป็นให้เล่นได้วันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง

  • กฎเป็นกฎ อย่าใจอ่อน 

พ่อแม่บางคนอาจจะใจดี ตามใจลูก เวลาลูกแอบเล่นเกินเวลาที่กำหนดไว้  แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยนะ  เมื่อหมดเวลาตามข้อตกลงแล้ว กฎก็ควรเป็นกฎ ไม่มีการขอต่อเวลา พ่อแม่ยุคดิจิทัลจะต้องใจแข็งนิดนึง ยึดตามข้อตกลงที่คุยกันไว้ตั้งแต่แรก ถ้าไม่ทำตามก็ต้องมีทำโทษ หรือ ยึดเครื่องคืนบ้าง ให้เขาเข้าใจว่าพ่อแม่เอาจริง  ลูกอาจจะมีหงุดหงิดบ้าง  แต่ถ้าเราหัดจนเป็นนิสัย ลูกก็จะมีระเบียบวินัยขึ้นเอง

 

รักษาโรคสมาธิสั้น  พ่อ-แม่ นั้นสำคัญที่สุด  ถึงแม้การใช้เทคโนโลยี  จะเข้ามีบทบาทสำคัญก็ตาม แต่ก็ควรจะเลือกใช้งานให้พอดี เช่น ใช้งานเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือ เสริมพัฒนาการของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพัง เพราะหากปล่อยให้ลูกเสพติดเทคโนโลยีมากเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลตามมาดังกล่าวได้


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
เว็บไซต์ th.theasianparent
เว็บไซต์ maerakluke

======================================
หากลูกมีอาการดังต่อไปนี้
♥ รอคอยไม่เป็น หงุดหงิดง่าย
♥ ติดทีวี ติดมือถือ 
♥ ไม่มีสมาธิ ไม่จดจ่อทำการบ้าน 
♥ ไม่สนใจเรียน เรียนไม่รู้เรื่อง
♥ ดื้อ ไม่ฟังคำสั่ง 

ให้ "อเลอไทด์" เป็นทางเลือก ช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ 
====================================

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,549