อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และ อาหารแบบที่จำเป็นสำหรับลูกสมาธิสั้น..?

มีงานวิจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง "การเปลี่ยนอาหารบางชนิด กับ การลดลงของอาการของโรคสมาธิสั้น" โดยอาหารที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงได้แก่ อาหารที่การแต่งสีและใส่สารกันบูด, มีปรอทมาก, มีน้ำตาล คาเฟอีน เป็นผลิตภัณฑ์จากนม อาหารที่มีกลูเตน และ อาหารที่ไม่ออร์แกนิค ต่อไปนี้เราจะมาแนะนำอาหารยอดนิยมในเด็ก 5 อย่าง ที่จัดอยู่ในอาหารกลุ่มนี้ ลองพยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านี้ทีละอย่างประมาณ 2 สัปดาห์ และ ดูว่าเด็กมีอาการดีขึ้นหรือไม่

ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น อาจจะต้องมีการลองผิดลองถูกในช่วงแรก เพื่อให้เด็กร่วมมือกับการเปลี่ยนอาหาร อาจลองใช้การเล่นเกมสนุกๆ เช่น การสำรวจชั้นต่างๆ ของร้านขายของชำ เพื่อหาอุปกรณ์มอาหารที่ครอบครัวอาจจะไม่เคยรับประทานมาก่อน เป็นต้น

ไปดูกันเลยว่า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
5 อย่าง ในเด็กที่เป็น โรคสมาธิสั้น มีอะไรบ้าง

1.
เค้กผสมและน้ำตาลไอซิ่งโรยหน้าเค้กสำเร็จรูป
อาหารที่ผ่านการแปรรูปและทำสำเร็จมาแล้ว เต็มไปด้วยสารปรุงต่างอาหาร เช่น สารกันบูด และ สีเค้กผสมสีเหลือง สีแดง 40 และ สีเหลืองอยู่อีก 5 มีงานวิจัยที่พบว่า สีย้อมอาหาร อาจกระตุ้นความตื่นตัว หรือ อาการของโรคสมาธิสั้น ในเด็กที่ไวต่ออาหารเหล่านี้ได้ การกำจัดอาหารที่มีการปรุงแต่งสี จึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้ผลในการลดอาการของโรคสมาธิสั้น

2. ลูกอม
แม้ว่าจะไม่มีการพูดถึงความเชื่อมโยงระหว่าง การรับประทานน้ำตาล กับ การกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น แต่พ่อแม่หลายคนรู้สึกว่า น้ำตาลทำให้เด็กตื่นตัวมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งลูกอมมีทั้งน้ำตาลและสารแต่งสีและสารกันบูด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมเช่นกัน การเปลี่ยนจากการรับประทานลูกอม มาเป็นของทานเล่นที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผลไม้ จึงถือเป็นสิ่งที่ดี

3. ช็อกโกแลต
เด็กที่ไวต่อสารแต่งสี อาจจะไวต่อคาเฟอีน และ สารกันบูดในช็อกโกแลตได้เช่นกัน การจำกัดการรับประทานช็อกโกแลต จึงอาจลดอาการตื่นตัวที่มากเกินไปได้

4. ขนมปังและพาสต้าจากข้าวสาลี
มีการศึกษาหลายชิ้นที่แสดงว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีสารกลูเตนนั้น สามารถช่วยลดอาการของ โรคสมาธิสั้น ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นหากเป็นโรคซิลิแอค แต่ไม่ได้รักษา ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น การเป็นโรคสมาธิสั้นได้ การรับประทานอาหารแบบไม่มีสารกลูเตน เป็นการกำจัดอาหารที่มีข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนประกอบ 

5. นม
การกำจัดผลิตภัณฑ์จากนม โดยเฉพาะ คาเซอีนในอาหาร พบว่า ช่วยลดอาการตื่นตัวและหุนหันพลันแล่นในเด็กที่เป็น โรคสมาธิสั้น ได้ ลองจำกัดการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดประมาณ 5-7 วัน เพื่อดูว่าเด็กไวต่อผลิตภัณฑ์จากนมหรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มนำอาหารเหล่านี้ กลับเข้ามาช้าๆ และเฝ้าติดตามอาการที่อาจเกิดขึ้น

แล้วอาหารแบบไหนละ ที่มีประโยนชน์ต่อเด็กสมาธิสั้น..?

สมองก็เช่นเดี่ยวกันกับอวัยวะอื่นๆ ที่ต้องการสารอาหารให้เพียงพอต่อการทำงานปกติ มีการประเมินเด็กสมาธิสั้นพบว่า ส่วนใหญ่จะขาดสารอาหารที่จำเป็น และ มีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ถ้าหากได้รับการแก้ไขแล้ว จะทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นชัดเจน ทั้งด้านพฤติกรรมและการเรียน

1. ไทโรซีน (Tyrosine) น้ำมันเชื้อเพลิงของเด็กสมาธิสั้น **
ไทโรซีน เป็นกรดอะมิโมจำเป็น (Essential Amino Acid) ปกติแล้วจะใช้ในการสร้างโปรตีน เมื่อเข้าสู่สมองจะถูกนำไปสร้างเป็นสารสื่อนำประสาท ไทโรซีน เป็นจุดเริ่มต้นของการสังเคราะห์ โดปามีนและนอร์เอพิเนฟฟริน ในสภาวะที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียด ร่างกายมีความจำเป็นต้องการใช้ ไทโรซีน มากขึ้น

ไทโรซีน และ โรคสมาธิสั้น
จากที่เราทราบกันว่า โรคสมาธิสั้น มีความไม่สมดุลของสารสื่อนำประสาทโดปามีนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของสมองส่วนหน้า ไทโรซีน ถือเป็นอาหารเสริมหลัก ที่นิยมใช้เป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำไปสร้างโดปามีนมากขึ้นต่อความต้องการ  ในช่วงหลังจึงมีการนำ ไทโรซีน มาสกัด และ ใช้แทนยามากขึ้น เพราะ ไทโรซีน เป็นสารอาหารจากธรรมชาติจึงไม่เกิดผลข้างเคียง

ไทโรซีนนั้นสามารถพบได้ในโปรตีนของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่น เนื้อสัตว์ และ ผัก
ขนาดที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 100-500 มิลลิกรัมต่อวัน

2. วิตามินบี 6 หรือ รู้จักกันในชื่อ ไพริด๊อกซีน (Pyridoxine) **
เป็นตัวร่วมสำคัญในการสร้างและเผาผลาญกรดอะมิโนต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างสารสื่อนำประสาท เช่น โดปามีนและซีโรโตนิน โรคสมาธิสั้นมีความไม่สมดุลของสารสื่อนำประสาทโดปามีนมีน้อยกว่าปกติ ดังนั้นการให้วิตามินบี 6 ในขนาดที่สูง สามารถช่วยให้อาการของเด็กดีขึ้นได้ จากประสบการณ์ของแพทย์ทั่วไปพบว่า วิตามินบี 6 อาจจะช่วยลดอาการของเด็กสมาธิสั้นลงได้บ้าง

วิตามินบี 6 สมารถพบได้ใน ปลา, ไข่, ตับ, ข้าวไม่ขัดสี, จมูกข้าวสาลี, รำข้าว, ข้าวโอ๊ต, วอลนัท, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, บริวเวอร์ยีสต์, กากน้ำตาล, กะหล่ำปลี, แคนตาลูป
ขนาดที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 25-100 มิลลิกรัมต่อวัน (สำหรับการแก้ไขปัญหาสมาธิสั้น โรคลมชัก และโรคซึมเศร้า)

3. น้ำมันปลา-กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acids) **
สกัดมาจากปลาสดในทะเลเขตหนาว ซึ่งเป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 (Omega 3) ที่เรียกว่า อีพีเอ และ ดีเอสเอ ดังนั้นน้ำมันปลา จึงมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเยื่อหุ้มของเซลล์สมองได้
ในปี ค.ศ. 1987 Michell EA. และคณะ ได้ตรวจวัดระดับของกรดไขมันในน้ำเลือด (Plasma Fatty Acid) ของเด็กสมาธิสั้น เปรียบเทียบกับ เด็กปกติ พบว่า เด็กสมาธิสั้นมีระดับของ ดีเอชเอ และ กรดอะราชิโดนิก (Arachidonic Acid-AA) ต่ำกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การเพิ่มน้ำปลา จึงน่าจะช่วยแก้ไขความบกพร่องอันนี้

น้ำมันปลาสามารถพบได้ในปลาเขตหนาว เช่น ปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาซาดีน

4. แร่ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium)
ธาตุแมกนีเซี่ยม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมอง และ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในปฎิกิริยาเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด แมกนีเซียม เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาระดับศักย์ไฟฟ้าของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และ  ยังทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้

ในปี ค.ศ. 1997 T.Kozielec และคณะ ได้ตรวจสอบระดับของแมกนีเซียมในเด็กสมาธิสั้น พบว่า ร้อยละ 95 ของเด็กสมาธิสั้น มีการขาดแมกนีเซียม และ พบได้บ่อยกว่าในเด็กปกติ คณะผู้ศึกษาได้ทดลองให้อาหารเสริมแมกนีเซียมรักษาเด็กสมาธิสั้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าอาการอยู่ไม่นิ่ง ซนผิดปกติลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้แมกนีเซียม

แมกนีเซียมสามารถพบได้ใน ผักสีเขียวเข้ม, กล้วย, ข้าวกล้อง, มะเดื่อ,ฝรั่ง, อัลมอนต์, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เล่ย์, ข้าวโพด, จมูกข้าวสาลี, เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วลิสง, งา และในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

5. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract)
ประกอบด้วยสารโปรแอนโทไซยาดิน (Proanthocyadin) ซึ่งพบว่า ช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง และ เป็นสารช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระอย่างแรง มากกว่าวิตามินอี 20-50 เท่า 


6. แอลคาร์โนซีน (L-Carnosine) – ความหวังของเด็กออทิสติก
เป็นกรดอะมิโน 2 ชนิดเชื่อมกัน (Amino Acid Dipeptide) ที่ประกอบด้วย ฮีสทีดีน (Histidine) และ อลานีน (Alanine) สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของสมองส่วนหน้าให้ดีขึ้น

สรุปสารอาหารต่างๆ กับ โรคสมาธิสั้น
จากที่คุณพ่อ-คุณแม่ ได้อ่านมา จะเห็นได้ว่า อาหารนั้นมีผลต่อลูกเป็นอย่างมาก เพราะ การที่เราให้ลูกกินแต่อาหารที่มีประโยชน์นั้น จะเป็นตัวช่วยให้อาการของลูกดีขึ้น แต่ที่ขาดไม่ได้เลย คือ ความรัก ความเข้าใจ ของพ่อ-แม่ ที่มีต่อลูก เพราะการเลี้ยงดูที่ดี การปรับพฤติกรรมของลูก คือยาที่ดีที่สุดในการรักษาโรคสมาธิสั้น



ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
หนังสือโรคสมาธิสั้น หลากหลายวิธีบำบัดเพื่อลูกรัก
โดย นพ. มาโนช อาภรณ์สุวรรณ
และ เว็บไซต์ honestdocs.co

 ==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย ช่วงเปิดเทอมนี้ 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"
 

 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,788