เด็กแอลดี ความบกพร่องที่ซ่อนอยู่ในความฉลาด !!

Learning Disabilities (LD) ความบกพร่องในการเรียนรู้ อาจเป็นศัพท์ใหม่ที่ คุณพ่อคุณแม่ ยุคใหม่ไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก เพราะปัจจุบันยังไม่ค่อยมีคนเข้าใจในเรื่องของ แอลดี อย่างชัดเจนว่า แท้จริงเป็นอย่างไร สำหรับประเทศไทยเรื่องของแอลดี เพิ่งได้รับความสนใจและ มีการตื่นตัว

ในขณะที่สหรัฐอเมริกา เรื่องของ แอลดี กลับมีการศึกษามายาวนานกว่ายี่สิบปี จนปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐได้ออกกฎหมายทางการศึกษา มารองรับเรื่องนี้กันอย่างจริงจังแล้ว

ปัญหาของ เด็กแอลดี เป็นความบกพร่องที่ซ่อนเร้น คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่า ลูกมีความเฉลียวฉลาดปกติเหมือนเด็กทั่วไป  แต่ทำไมพฤติกรรมบางอย่าง สังเกตได้ว่ามีความผิดปกติ เช่น

   √ ใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไป

   √ ลูกสามารถอ่านหนังสือได้คล่อง แต่ไม่สามารถจับใจความได้

   √ มีปัญหาด้านการคำนวณ การเขียน การพูด การฟังจนสังเกตได้ชัด ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้คือ พฤติกรรมบางส่วนของเด็กที่เป็น แอลดี(LD)  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก แต่เป็นเรื่องของกระบวนการทำงานของสมองและพันธุกรรม  ที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขณะที่เด็กยังเติบโตอยู่ในครรภ์  เพราะ เซลล์ประสาทเชื่อมโยงไม่ถูกคู่ หรือ อาจไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ฯลฯ  จนทำให้สมองบางส่วนบกพร่อง  ในขณะที่สมองและระบบประสาทส่วนกลาง ยังสามารถทำงานได้ดี

ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่ จึงควรเข้าใจถึงปัญหาความสลับซับซ้อนเรื่อง แอลดี ที่เป็นต้นตอที่แท้จริง และ ได้เกิดกับเด็ก เพราะ เด็กที่เป็นแอลดี อาจมีปัญหาพฤติกรรม และ อารมณ์ตามมา เช่น หลีกเลี่ยงการไปโรงเรียน  ไม่ทำตามที่ครูสั่ง  ไม่ทำการบ้าน  เป็นคนก้าวร้าว  รู้สึกตัวเองด้อยค่า  ไม่มั่นใจในตัวเอง  เพราะ ถูกตำหนิอยู่เสมอว่า เป็นคนขี้เกียจ ดื้อ ไม่ตั้งใจเรียน เพราะผลการเรียนที่ตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น  ทั้งนี้เพราะทั้งครูและผู้ปกครอง ล้วนไม่เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเขา

ดร.เพ็ญนี หล่อวัฒนพงษา ผู้อำนวยการฝ่ายบริการจิตวิทยา ผู้ชี่ยวชาญสาขาครอบครัวบำบัด และ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Learning Disabilities (LD) แห่งโรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า ปัญหาความบกพร่องในการเรียนรู้  พ่อแม่ควรมีสัมพันธ์อันดีกับเด็กเป็นอันดับแรก และ พยายามสังเกตพฤติกรรมต่างๆ  โดยปกติ นักจิตวิทยาสามารถตรวจสอบได้ว่า เด็กคนไหนเป็นแอลดีหรือไม่ โดยการใช้เครื่องมือในการประเมินด้านต่างๆ เพื่อทดสอบตั้งแต่การประเมินเรื่องของสติปัญญา โดยการวัดไอคิว และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลายๆ ด้านของเด็ก  แต่สิ่งที่ต้องระวังอย่างมากคือ จะไม่สรุปว่า เด็กที่มีปัญหาในการเรียนทุกคนเป็นเด็กแอลดี เพราะเด็กบางคน โดยเฉพาะก่อนแปดขวบ อาจมีพัฒนาการด้านทักษะต่างๆ ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน  ปัจจุบันพบว่า เด็กที่เป็นแอลดี มีจำนวนมากกระจายอยู่แทบทุกมุมโลก

“ วิธีสังเกตเด็กที่มีลักษณะเป็นแอลดี  พฤติกรรมบางอย่างจะสังเกตได้ชัด บางอย่างอาจสังเกตไม่ได้ คือ

    เด็กอาจจะอ่านได้คล่อง อ่านเพื่อความเข้าใจได้  เล่าเรื่องได้ แต่เมื่อถามเฉพาะจุดเจาะจงจะตอบไม่ได้ 

   √ ไม่สามารถเชื่อมโยงเรื่องได้

   √ ในด้านคณิตศาสตร์ ก็ไม่สามารถคิดคำนวณง่ายๆ ได้  ไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ จำหลักเลขไม่ได้

   √ ด้านการเขียน อาจสะกดคำศัพท์ไม่ได้ เป็นต้น

ดูเป็นเรื่องที่ชัดเจนสำหรับเด็กแอลดี  แต่ก็ต้องดูต่อว่า เขาจัดอยู่ในแอลดีประเภทไหน  เด็กแอลดี จะแตกต่างกับเด็กไม่ฉลาด และ เด็กสมาธิสั้น  คือเรื่องพัฒนาการต่างๆ เด็กที่ไม่ฉลาดจะมีพัฒนาการจะล่าช้าเป็นเรื่องปกติ  ส่วนเด็กสมาธิสั้น ก็จะทำสิ่งต่างๆ ได้ไม่นาน เพราะต้องรับสิ่งเร้าต่างๆที่เข้ามา  ส่วน เด็กแอลดี อาจจะพูดเก่ง ฉลาด แต่จะไม่จำ  โดยเฉพาะถ้าให้ลงมือเขียน ลงมือทำ จะทำไม่ได้  นี่คือช่องว่างที่แตกต่างกันตรงนี้ และ สิ่งที่ตามมา คือ ผลสัมฤทธ์ทางการเรียน อย่างน้อยที่สุดมีนัยสำคัญที่สองชั้นเรียน  เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กปกติ ”

ดร.เพ็ญนี ยังระบุว่า ปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อยของมารดา ก็อาจจะทำให้บุตรที่ออกมาก็มีสิทธิ์เป็น แอลดี ได้  รวมถึง เด็กที่คลอดแล้วน้ำหนักตัวน้อยมาก ก็อาจเป็นแอลดีได้เช่นกัน 

สำหรับแนวทางการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยเหลือนั้น ผู้ปกครองต้องบอกนักจิตวิทยาก่อนว่า มีความห่วงใยเด็กในเรื่องใด ห่วงใยในเรื่องนั้นๆ มาระยะเวลานานแล้วเท่าไร และ ที่ผ่านมาได้พยายามช่วยเหลือเด็กอย่างไร เพราะข้อมูลเรื่องการเรียนของเด็ก การพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนข้อมูลจากโรงเรียน ครูผู้สอน ฯลฯ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ทราบว่า เด็กแอลดี มีข้อดีข้อเด่นในเชาวน์ปัญญาของเขาด้านไหน และ เมื่อทราบถึงจุดนี้ ก็สามารถทำการเลือกวัดไอคิว ทำแบบทดสอบมาตรฐานต่างๆ ตามวัยที่เหมาะสมกับเขาได้  ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษ จะใช้ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละรายไป ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครูประจำชั้น นักจิตวิทยา แพทย์ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสามารถทำแผนบำบัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับตัวเขาต่อไป  และ ที่สำคัญผลการประเมินต้องสามารถใช้ในการช่วยเด็กได้จริง

ในประเทศไทยขณะนี้ถือว่า มีเด็กที่มีความบกพร่องการเรียนรู้จำนวนมาก ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมอย่างมีความสุข  ขณะเดียวกัน ก็มีเด็กที่มีปัญหาบกพร่องการเรียนรู้อีกจำนวนมาก  ที่ไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง  ด้วยครูและพ่อแม่ไม่มีความรู้และเข้าใจว่าเด็กเหล่านั้นมีปัญหา  บ้างก็ว่า  โง่  ดื้อ  จนบางครั้งอาจทำให้เด็กกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้  ดังนั้นหาก พ่อ-แม่สังเกตุว่า ลูกมีอาการเสี่ยงเหล่านี้ ควรรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
ดร.เพ็ญนี หล่อวัฒนพงษา 
ผู้อำนวยการฝ่ายบริการจิตวิทยา  รพ.มนารมย์

============================================

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain 
 
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง 
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
 กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
 ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 

 **เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,222