เด็กสมาธิสั้นก็มีหัวใจ พ่อ-แม่ คือยาที่ดีที่สุด

ดร. Amen เน้นความสำคัญของปัญหาว่า ทั้งหมดมีต้นเหตุมาจากในหัว หรือ สมองนั่นเอง ที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ จิตใจ และ พฤติกรรม ที่แสดงออกมา ถ้าเราแก้ไขที่สาเหตุคือ ปรับเปลี่ยนความผิดปกติในสมองได้ ชีวิตทั้งหมดที่ผิดปกติ ก็จะเปลี่ยนแปลง 

วิธีการปรับพฤติกรรม ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในหลายวิธี ที่ผสมผสานในการดูแลรักษาโรคสมาธิสั้น เราลองมาดูรายละเอียดทั้ง 2 แนวทางนี้กันที่ละอย่าง

1. การปรับพฤติกรรม หรือ พฤติกรรมบำบัด

การปรับพฤติกรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์สำหรับการดูแลเด็กสมาธิสั้น เป็นการช่วยเหลือทางด้านจิตใจของเด็ก ให้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากเด็กเองก็รับรู้ถึง ผลจากพฤติกรรมของตัวเอง และ ความไม่พอใจ  ความโกรธของคนรอบข้าง ทำให้รู้สึกว่า ตัวเองไม่เอาไหน นิสัยไม่ดี ทำให้ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง เด็กมักถูกลงโทษ จากทั้งครูและพ่อ-แม่ บ่อยกว่าคนอื่น และ ถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ เด็กซน นิสัยไม่ดี

การปรับพฤติกรรม ต้องปรับที่พ่อแม่ พี่น้องและครู แล้วถึงตัวเด็ก ดังนั้นพ่อแม่และครูต้องศึกษาวิธีการต่างๆ ให้เข้าใจโดยละเอียด 

ความรักและความเข้าใจในสิ่งที่เด็กเป็น และ พยายามให้กำลังใจเด็ก และ มีส่วนช่วยเหลือให้เด็กประสบความสำเร็จได้ การเข้าใจเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องในการกำจัดพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก การตีหรือการลงโทษทางร่างกาย  เป็นวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ได้ผล และ จะมีส่วนทำให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือ แสดงพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และ ก้าวร้าวมากขึ้น วิธีที่ได้ผลดีกว่า คือ การให้คำชม หรือ รางวัล เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ข้อแนะนำสำหรับพ่อ-แม่ และ ครูในการอยู่ร่วมกับเด็กสมาธิสั้น

1.1 เข้าใจเด็ก
    √ เป็นธรรมชาติของเขา
    √ ไม่ได้แกล้ง
    √ ไม่ได้นิสัย ไม่ดี
    √ ไม่ใช่เด็กดื้อ / ไม่อดทน
    √ ไม่ใช่สอนไม่จำ
    √ ไม่ใช่ไม่มีความรับผิดชอบ

1.2 หลีกเลี่ยงการตำหนิ ต่อว่า  เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นผลของสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง

1.3 ช่วยทำให้เด็กใช้พลังงานไปในทางสร้างสรรค์ หากิจกรรมให้ทำ  เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เล่นดนตรี

1.4 เขาต้องการความรัก  การแสดงความรัก ความเข้าใจของผู้ใหญ่



2. หนทางที่ช่วยปรับสมองให้ปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์ที่สุด

ดร.Amen ได้เสนอแนะหนทางปฎิบัติที่ช่วยปรับสมอง เพื่อให้สมองปฏิบัติหน้าที่ได้สมบูรณ์ที่สุด ได้แก่
   > การใช้ยาที่เหมาะสม เช่น ยากระตุ้นสมอง
   > การใช้สารอาหารเสริมที่จำเป็นและสมุนไพร
   > การออกกำลังกายและอาหารที่เหมาะสม
   > การฟังดนตรีและร้องเพลง
   > เรียนรู้การหายใจด้วยกะบังลม (Diaphragmatic Breathing)
   > การฝึกสมาธิทุกวัน และ การเรียนรู้การฝึกสะกดจิตตัวเอง (Self-Hypnosis)

การดูแลบำบัดและรักษาโรคสมาธิสั้น ซึ่งมีความผิดปกติหลายๆ สิ่งรวมกัน  ทั้งด้านการทำงานของสมองส่วนหน้า สารสื่อนำประสาทโดปามีน การไหลเวียนของเลือดในสมองผิดปกติ และ คลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติ ควรเลือกแนวทางหลายๆวิธี  ที่ช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กลับสู่สถาพปกติได้อย่างถาวรในอนาคต ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม พูดง่ายๆคือ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ หากได้รับการกระตุ้นและท้าทายอยู่ตลอดเวลา

สุดท้ายนี้เราอยากทิ้งท้ายไว้ว่า หากลูกมีสมาธิสั้น หรือ เข้าข่ายสมาธิสั้น  พ่อ-แม่ ไม่ควรละเลย พร้อมอาการสมาธิสั้นนั้น หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี อาจจะส่งผลกระทบระยาวกับลูกได้ในอนาคต ทั้งในด้านการเรียน การเข้าสังคม และ การทำงานในนาคต  เพราะ จากงานวิจัยพบว่า  เด็กสมาธิสั้นนั้น ส่วนมากจะไม่สามารถใช้ความสามารถได้เท่ากับความสามารถที่แท้จริงของเด็ก



ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
หนังสือโรคสมาธิสั้น หลากหลายวิธีบำบัดเพื่อลูกรัก
โดย นพ. มาโนช อาภรณ์สุวรร
และ เว็บไซต์ th.wikipedia.org

==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,767