วิธีฝึก เด็กที่มีภาวะซน อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น

   

การเลี้ยงดูเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น อาจเป็นเรื่องยากสักหน่อย เพราะพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีเทคนิคเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากเด็กทั่วไป มิฉะนั้นแล้ว คุณจะเสี่ยงต่อการที่ต้องคอยขอโทษขอโพยผู้อื่น หรือไม่ก็ต้องมาลงโทษเด็กจนเกินไปในภายหลัง ทั้งนี้ คุณจำเป็นต้องรับมือกับหน้าที่อันสุดโต่งทั้ง 2 ด้านดังกล่าว ให้มีความสมดุลลงตัวมากที่สุด 

   ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นนั้น ต่างยืนยันว่า การควบคุมดูแลเด็กที่มีภาวะดังกล่าว ถือเป็นเรื่องท้าทายมาก อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้ปกครอง ผู้รับเลี้ยงดู พี่เลี้ยงเด็ก คุณครู หรือใครก็ตามที่มีหน้าที่ต้องดูแลเด็กๆ เหล่านั้น ก็ยังพอที่จะสามารถฝึกระเบียบวินัยให้แก่พวกเขาได้ ขอเพียงใช้ความอดทน และ ความเสมอต้นเสมอปลายร่วมด้วย

1. การจัดการและเสริมสร้างกิจวัตรประจำวัน

1.1. กำหนดความจำเป็นอันเร่งด่วน ลงในตารางกิจวัตร และ การจัดการทั่วไปภายในครอบครัว
   

เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นนั้น จะมีปัญหาในการวางแผน การคิดตามแบบแผน การบริหารเวลา และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ระบบการบริหารโครงสร้างกิจวัตรอย่างรัดกุม จึงถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน สำหรับชีวิตประจำวันของครอบครัวคุณ หรือ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การเสริมสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดี จะช่วยป้องกันไม่ให้ต้องมานั่งเคี่ยวเข็ญเรื่องระเบียบวินัยกันมากนักในภายหลัง เนื่องจากมันจะช่วยให้เด็กที่อยู่ในความดูแลของคุณ มีโอกาสในการทำผิดระเบียบน้อยลงไปเอง

  • ความประพฤติบางอย่างของเด็ก อาจเกิดจากนิสัยอันขาดการจัดการที่ดี จนนำไปสู่สถานการณ์วุ่นวาย ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งอันชัดเจนประการหนึ่ง ที่มักเกิดขึ้นระหว่างเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น กับ ผู้ปกครองของเขาหรือเธอนั้น ก็คือเรื่องการทำงานบ้านทั่วไป รวมถึงการเก็บกวาดห้องนอนของตัวเอง และการทำการบ้านของเด็กด้วย ปัญหาเหล่านั้นจะสามารถป้องกันได้ ถ้าหากว่า เด็กคนดังกล่าวอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีโครงสร้างและการจัดการอันรัดกุม ซึ่งช่วยให้เกิดอุปนิสัยที่ดี อันจะเป็นรากฐานให้พวกเขามีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จในลำดับต่อไป
  • สภาพการณ์อันเป็นปัญหาดังกล่าว ยังมักเกิดขึ้นในช่วงกิจวัตรประจำวันตอนเช้า ช่วงที่เด็กทำการบ้าน ช่วงที่พวกเขาเข้านอน และอาจรวมถึงช่วงที่เด็กๆ ต้องการเล่นวิดีโอเกมส์ด้วย
  • คุณต้องแน่ใจว่าคุณได้สั่งงานพวกเขาด้วยความ ชัดเจน เช่น คำว่า "ทำความสะอาดห้อง" อาจจะฟังดูคลุมเครือไปหน่อย ซึ่งอาจทำให้เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น เกิดความสับสนว่า จะเริ่มทำหรือปฏิบัติงานจากจุดไหนดี ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มหมดความตั้งใจไปเสียก่อน ดังนั้น จะเป็นการดีกว่า หากว่าคุณแยกรายละเอียดย่อยออกมาให้ชัดเจน เช่น "เก็บของเล่น"  "ดูดฝุ่นเศษขยะ"  "ทำความสะอาดกรงเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์" หรือ "เอาเสื้อผ้าไปเก็บในตู้เสื้อผ้า" เป็นต้น

1.2. ระบุกิจวัตรประจำวันและกฎระเบียบให้ชัดเจน
 

 คุณต้องกำหนดความคาดหวังและกฎระเบียบทุกอย่างให้ชัดเจน เพื่อนำมาใช้ภายในครอบครัวของคุณ เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น มักจะไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตัวเอง คุณจึงต้องสื่อสารให้ชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวังของคุณ และระบุสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องทำในแต่ละวันด้วย

  • ตัวอย่างเช่น หลังจากที่จัดตารางการทำงานบ้านของแต่ละสัปดาห์เสร็จแล้ว ก็ควรนำตารางดังกล่าว ไปติดไว้ที่ห้องของเด็ก คุณอาจจะใช้ไวท์บอร์ดและทำให้มันดูน่าสนุกมากขึ้น ด้วยการละเลงสีสัน ติดสติ๊กเกอร์ และใช้อุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ ร่วมด้วย จงพยายามอธิบายและชี้ให้พวกเขาเห็นรายละเอียดในตารางดังกล่าวอย่างชัดเจน เพื่อให้เขาหรือเธอเข้าใจมันได้ในหลากหลายแง่มุม
  • กำหนดกิจวัตรสำหรับงานในแต่ละวันทุกประเภท รวมถึงการทำการบ้าน ซึ่งมักจะเป็นปัญหาหลักสำหรับเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นส่วนใหญ่ คุณต้องแน่ใจว่า เขาหรือเธอได้จดการบ้านไว้ในตารางงานของตัวเองทุกวัน โดยคุณควรจัดสรรเวลาและสถานที่ประจำ ให้พวกเขาใช้สำหรับทำการบ้านด้วย รวมถึงควรนำการบ้านของพวกเขามาอ่านดูก่อนที่จะให้พวกเขาทำ และนำกลับมารีวิวอีกครั้งหลังจากพวกเขาทำเสร็จแล้ว


1.3. แตกย่อยหน้าที่ใหญ่ๆ ออกเป็นงานชิ้นเล็กๆ
   

ผู้ปกครองควรเข้าใจด้วยว่า นิสัยความไม่มีระเบียบ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นนั้นมักเป็นผลพวงจากการถูกรุมเร้าด้วยสิ่งต่างๆ ภายนอกที่มากระทบประสาทการรับรู้ของพวกเขา  จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเรา ที่จะต้องใช้วิธีมอบหมายงานชิ้นใหญ่ๆ ให้พวกเขา เช่น การสั่งให้ไปทำความสะอาดห้องหรือการเก็บเสื้อผ้าไปซักแห้ง ด้วยการจำแนกรายละเอียดของงานเหล่านั้นออกมา ให้เป็นหน้าที่ยิบย่อยในแต่ละขั้นตอน เพียงครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น

  • ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการซักรีดนั้น คุณอาจจะขอให้เด็กเริ่มด้วยการไปหาถุงเท้าของเขาหรือเธอมาก่อน จากนั้น จึงบอกให้พวกเขานำไปเก็บให้เรียบร้อย คุณอาจจะทำให้มันดูเหมือนเป็นเกมที่น่าสนุก ด้วยการเปิดเพลงประกอบ และท้าทายให้พวกเขาพยายามค้นหาถุงเท้าทั้งหมด ก่อนที่จะนำไปใส่ลิ้นชักอย่างถูกต้องให้ได้ ก่อนที่เพลงแรกจะจบลง และหลังจากทำหน้าที่ดังกล่าวสำเร็จแล้ว คุณก็กล่าวชื่นชมเขาหรือเธอที่สามารถทำได้อย่างถูกต้อง จากนั้น คุณค่อยร้องขอให้เขาหรือเธอไปเก็บชุดชั้นใน ชุดนอน หรือชุดใดๆ ก็ตามของตนเองต่อไป จนกว่างานที่มอบหมายทั้งหมดจะเสร็จสิ้น
  • การแตกย่อยหน้าที่ใหญ่ๆ ออกเป็นงานชิ้นย่อยๆ ให้พวกเขาทำภายในกรอบเวลาที่กำหนดนั้น ไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันไม่ให้พวกเขาเกิดพฤติกรรมที่เกิดจากความคับข้องใจ แต่ยังสามารถช่วยผู้ปกครองให้มีโอกาสได้กล่าวชื่นชมเด็กๆ มากขึ้นด้วย ในขณะที่ตัวเด็กเอง ก็มีโอกาสมากมายที่จะได้สัมผัสประสบการณ์ ในการทำหน้าที่ให้สำเร็จลงได้ ทั้งนี้ ยิ่งพวกเขาได้สัมผัสกับความสำเร็จและผลรางวัลของมันมากเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งจะมองเห็นความสำเร็จในตนเอง แถมยังได้มีระดับความนับถือตนเองเพิ่มขึ้น อันจะช่วยให้พวกเขามีโอกาสประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้นในอนาคตด้วย เพราะอย่างที่เรารู้กันดีว่า ความสำเร็จครั้งหนึ่งๆ มักต่อยอดความสำเร็จครั้งต่อไปได้เสมอ

1.4. จัดระเบียบ
 

 การเสริมสร้างกิจวัตรให้แก่เด็ก สามารถพัฒนาไปเป็นนิสัยอันจะติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิตได้ แต่ก็มีความจำเป็นที่คุณจะต้องมีการจัดระเบียบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับกิจวัตรเหล่านั้นด้วย ลองพยายามช่วยเขาหรือเธอจัดระเบียบห้องดูก่อนก็ได้ จำไว้ว่า ความกดดันที่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น เกิดจากการที่พวกเขารับรู้สิ่งเร้าภายนอกจำนวนมากๆ มาสุมกันในคราวเดียว ดังนั้น ยิ่งพวกเขาสามารถจัดหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ ได้มากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งจัดการรับมือกับสิ่งของมากมายเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น

  • เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น จะตอบสนองได้ดีต่อการใช้กล่องใส่ของ ชั้นวางของ ที่แขวนบนกำแพง หรืออุปกรณ์ใดๆ ในลักษณะดังกล่าว อันจะช่วยให้พวกเขาสามารถจัดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ และก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงหรือรกรุงรังน้อยที่สุด
  • การใช้สีสัน รูปภาพ และสลากป้ายต่างๆ แทนรหัสช่วยจำบางอย่าง จะช่วยให้ความเครียดหรือความกดดันของพวกเขา อันเกิดจากสิ่งเร้าภายนอกลดน้อยลง จำไว้ว่า เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น มักเกิดความตึงเครียดจากการที่ประสาทสัมผัสของพวกเขา รับรู้สิ่งต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาในคราวเดียว ดังนั้น ยิ่งพวกเขาสามารถจัดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ ได้มากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งจัดการรับมือกับสิ่งเร้าอันมากมายเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น


2.วิธีมองปัญหาในเชิงสร้างสรรค์

2.1 มอบผลตอบรับในเชิงบวก

   คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการให้รางวัลที่จับต้องได้ (สติ๊กเกอร์ อมยิ้ม และของเล่นเล็กน้อย) ทุกครั้งที่เขาหรือเธอทำสำเร็จ เมื่อผ่านไปสักพัก จึงค่อยๆ ลดลงเหลือเพียงการชื่นชมอย่างกระตือรือร้น ("เยี่ยมมากเลยจ้ะ" หรือเข้าไปสวมกอดพวกเขา) เพียงแต่ต้อง ให้ผลตอบรับในเชิงบวกแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เขาหรือเธอพัฒนาอุปนิสัย ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว

  • การทำให้เด็กในความดูแลของคุณ รู้สึกดีกับสิ่งที่พวกเขาทำได้ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญอย่างหนึ่ง ในการหลีกเลี่ยงสภาวการณ์ที่จะต้องมาเคี่ยวเข็ญพวกเขาในภายหลัง
  • หลีกเลี่ยงการตอบสนองโดยใช้อารมณ์ หากคุณฉุนเฉียวหรือตะคอกใส่พวกเขา จะทำให้พวกเขาเกิดความวิตกกังวลมากขึ้น และยิ่งเป็นการตอกย้ำให้พวกเขาเชื่อว่า ตนเองเป็นเด็กไม่ดีและไม่เคยทำสิ่งใดถูกเลย นอกจากนี้ มันยังอาจไปกระตุ้นความรู้สึกของพวกเขาที่ว่า ตัวเองเป็นผู้ถือไพ่เหนือกว่า ที่สามารถทำให้คุณระเบิดอารมณ์ออกมาได้

2.2 ทำตัวให้สมเหตุผล


   จงใช้น้ำเสียงต่ำและหนักแน่น ในเวลาที่คุณต้องการฝึกวินัยบางอย่างให้พวกเขา ส่วนเวลาจะบอกกล่าวหรือแนะนำอะไร ก็ควรพยายามทำน้ำเสียงให้คงที่และไม่เจือปนด้วยอารมณ์ พูดให้กระชับที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งคุณพูดยืดเยื้อเท่าไหร่ พวกเขาก็ยิ่งจำได้น้อยลงเท่านั้น

  • ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งกล่าวแนะนำว่า ผู้ปกครองควร "เน้นการกระทำ อย่าบ่นซ้ำซาก" การเทศนาเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น เป็นเรื่องไร้ประโยชน์ ในขณะที่การแสดงให้พวกเขาเห็นผลของการกระทำ จะสื่อแทนคำพูดได้ทุกประการ

หลีกเลี่ยงการตอบสนองโดยใช้อารมณ์ หากคุณฉุนเฉียวหรือตะคอกใส่พวกเขา จะทำให้พวกเขาเกิดความวิตกกังวลมากขึ้น และยิ่งเป็นการตอกย้ำให้พวกเขาเชื่อว่า ตนเองเป็นเด็กไม่ดีและไม่เคยทำสิ่งใดถูกเลย นอกจากนี้ มันยังอาจไปกระตุ้นความรู้สึกของพวกเขาที่ว่า ตัวเองเป็นผู้ถือไพ่เหนือกว่า ที่สามารถทำให้คุณระเบิดอารมณ์ออกมาได้

2.3 พยายามมองทุกเรื่องให้เป็นเชิงบวก แทนที่จะเป็นเชิงลบ
 

 แทนที่จะตำหนิเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น ให้หยุดพฤติกรรมแย่ๆ ลงเสีย คุณควรจะบอกแก่เขาหรือเธอว่า สิ่งใดที่ควรทำ เพราะโดยทั่วไปแล้ว เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น มักจะไม่สามารถคิดได้เองโดยทันทีว่า จะเอาพฤติกรรมดีๆ ไปแทนที่พฤติกรรมแย่ๆ ได้อย่างไร ดังนั้น มันจึงยากที่พวกเขาจะหยุดพฤติกรรมดังกล่าวลงได้ ซึ่งในฐานะที่เป็นผู้แนะนำ คุณมีหน้าที่ในการสื่อให้เขาหรือเธอรู้ว่า ความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสม ควรเป็นเช่นไร นอกจากนี้ เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น ยังอาจไม่ได้ใส่ใจหรือได้ยินคำว่า “อย่า” ในประโยคที่คุณพูดด้วย ดังนั้น สมองของพวกเขาจึงไม่ได้ประมวลคำพูดของคุณอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น:

  • แทนที่จะตำหนิเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น “อย่ากระโดดเล่นบนโซฟา” ควรเปลี่ยนเป็นการพูดว่า “โซฟามีไว้สำหรับนั่งนะ”
  • สอนเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นว่า "ต้องเล่นกับแมวเหมียวอย่างอ่อนโยนนะ" แทนที่จะพูดว่า “อย่าดึงหางแมว”
  • สอนเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นว่า "นั่งให้เรียบร้อยนะจ้ะ" แทนที่จะพูดว่า "อย่าลุกไปไหนอีกนะ"

2.4 หลีกเลี่ยงการจับผิดพฤติกรรมแย่ๆ
   

ความสนใจจากคุณ ไม่ว่าจะในทางบวกและทางลบ ต่างก็ถือเป็นรางวัลสำหรับเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้นทั้งสิ้น ดังนั้น คุณควรให้ความสนใจกับเด็กในความดูแลของคุณมากๆ เวลาที่พวกเขามีพฤติกรรมที่ดี และควรจำกัดความสนใจให้น้อยลง สำหรับพฤติกรรมแย่ๆ ของพวกเขา เพราะพวกเขาอาจจะเห็นมันเป็นรางวัลไปเสียอีก

  • ตัวอย่างเช่น หากลูกสาวของคุณ ลุกขึ้นมาเล่นกลางดึก คุณควรพาเธอกลับไปยังที่นอน โดยไม่ต้องกอดหรือแสดงท่าทีใส่ใจมากนะ คุณอาจจะริบของเล่นมาด้วยก็ได้ แต่อย่าเสียเวลาไปว่ากล่าวตักเตือนทันที มิฉะนั้น ลูกสาวของคุณอาจจะรู้สึกเหมือนกับได้รางวัลเป็นความสนใจจากคุณ หรืออาจเห็นมันเป็นโอกาสในการต่อรองเรื่องกฏระเบียบ ทั้งนี้ หากคุณเมินเฉยพฤติกรรมแย่ๆ ของพวกเขาไปสักพัก ไม่นานนักพฤติกรรมเหล่านั้นน่าจะหมดไปได้เอง
  • หากเด็กที่อยู่ในความดูแลของคุณ นำสมุดระบายสีมาตัดเล่น คุณก็ควรจะหยิบสมุดและกรรไกรดังกล่าวออกไป พร้อมพูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบว่า “สมุดไม่ได้มีเอาไว้ตัดเล่น“ แค่นั้นก็พอ

3.การกำหนดผลของการกระทำและความเสมอต้นเสมอปลาย


3.1 ในฐานะผู้ใหญ่ คุณต้องรู้จักใช้อำนาจ
   

ผู้ปกครองจำเป็นต้องเป็นฝ่ายควบคุม แต่บ่อยครั้งที่ความดื้อด้านของเด็ก อาจสามารถทำลายเจตนารมณ์ดังกล่าวของผู้ปกครองลงได้

  • ลองนึกถึงเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่คอยเรียกร้องจะดื่มแต่น้ำอัดลมมากถึง 6 ครั้งภายใน 3 นาทีดูสิ หากเป็นขณะที่คุณ หรือ ผู้ปกครองกำลังคุยธุระทางโทรศัพท์อยู่ หรือ อาจกำลังดูแลเด็กเล็กคนอื่นๆ รวมถึงอาจกำลังเตรียมอาหารค่ำอยู่  บางครั้งผู้ปกครองจึงอาจจะรู้สึกว่า การยอมตามใจเด็กคนดังกล่าวไปก่อน คงจะง่ายกว่า หรือนึกประมาณว่า "เอาล่ะ อยากทำอะไรก็เชิญ จะได้เลิกวุ่นวายกับฉันเสียที" อย่างไรก็ตาม การยอมให้เช่นนั้น ย่อมเป็นการสื่อให้พวกเขาเชื่อว่า ความดื้อด้าน สามารถเอาชนะทุกสิ่งได้ รวมถึงอาจเกิดความคิดที่ว่า พวกเขาเป็นผู้มีอำนาจควบคุมสถานการณ์ ไม่ใช่ผู้ปกครอง
  • เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น จะไม่ค่อยเชื่อฟังการลงโทษในทางลบ เด็กเหล่านี้ต้องการๆ ชี้แนะ และการตีกรอบด้วยความรัก บวกกับความหนักแน่น ดังนั้น การโต้เถียงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ รวมถึงการพยายามอธิบายเหตุผลที่ต้องมีกฎเกณฑ์ดังกล่าวไว้ มักจะไม่ได้ผลกับพวกเขา ผู้ปกครองบางคนอาจมีความรู้สึกอึดอัดที่จะใช้วิธีดังกล่าวนี้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ดี การรักษากฎเกณฑ์อย่างหนักแน่น สม่ำเสมอ และเต็มไปด้วยความรัก ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องโหดร้ายหรือป่าเถื่อนเลย


3.2 อย่าลืมกำหนดผลลัพธ์ของการทำตัวไม่ดี
   

หลักการสำคัญก็คือว่า การบังคับใช้ระเบียบวินัยใดๆ ก็ตาม ต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย ทันต่อสถานการณ์ และทรงพลัง การลงโทษแต่ละอย่างนั้น ควรที่จะสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ของพฤติกรรมแย่ๆ ดังกล่าวด้วย

  • อย่าลงโทษเด็กๆ ของคุณ ด้วยการปล่อยให้พวกเขาอยู่ในห้องของตัวเอง เพราะเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น อาจจะยิ่งไปสนใจกับของเล่นและสิ่งของต่างๆ ซึ่งทำให้พวกเขาเกิดความสนุกสนานมากกว่า จึงทำให้การลงโทษดังกล่าว กลับกลายเป็นการให้รางวัลไปเสีย นอกจากนี้ การไล่ให้พวกเขากลับไปอยู่ในห้อง ยังถือเป็นการพาพวกเขาออกไปจากสถนการณ์ความผิดซึ่งหน้า และไม่ได้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับความผิดนั้นๆ เลย จึงอาจส่งผลให้พวกเขา ไม่ได้เชื่อมโยงพฤติกรรมแย่ๆ ดังกล่าวเข้ากับการลงโทษ และไม่ได้เรียนรู้ที่จะไม่กระทำความผิดเดิมซ้ำอีก
  • การลงโทษหรือผลลัพธ์ของการกระทำที่คุณกำหนดไว้ ควรจะแสดงออกมาให้ทันต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า ตัวอย่างเช่น หากคุณสั่งให้เด็กในความดูแลของคุณ เอาจักรยานไปเก็บและกลับเข้ามาในบ้าน แต่เขาหรือเธอยังคงขี่เล่นต่อไป คุณก็ควรจะลงโทษด้วยการไม่ให้ขี่จักรยานในวันรุ่งขึ้น เพราะการลงโทษที่ล่าช้าย่อมถือว่าไร้ประโยชน์ หรือได้ผลเพียงเล็กน้อยกับเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มที่จะอยู่กับปัจจุบันขณะ “ที่นี่และเดี๋ยวนี้” เท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันวาน พวกเขาจะไม่สามารถเชื่อมโยงได้เลย ดังนั้น คุณควรริบจักรยานมาโดยทันที จากนั้น จึงค่อยบอกเขาหรือเธอว่า จะอธิบายวิธีทำให้ได้จักรยานคืนมาในภายหลัง


3.3 จงมีความสม่ำเสมอ
   

ผู้ปกครองจะเห็นผลลัพธ์ของความประพฤติที่ดีขึ้น ก็ต่อเมื่อพวกเขาตอบสนองต่อพฤติกรรมของเด็กได้อย่างมีความสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น หากคุณนำระบบการให้คะแนนมาใช้ ก็ควรใช้อย่างสมเหตุสมผล และมีความสม่ำเสมอในการให้หรือหักคะแนนพวกเขา จงหลีกเลี่ยงการทำตามใจชอบ โดยเฉพาะเวลาที่คุณกำลังโกรธหรือหัวเสีย มันต้องอาศัยระยะเวลาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บวกกับการเสริมสร้างแรงจูงใจให้เด็กๆ กว่าที่พวกเขาจะรู้ว่า ต้องประพฤติตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม

  • พยายามจดจำสิ่งที่คุณได้ว่ากล่าวหรือพูดขู่เด็กเอาไว้ อย่าตักเตือนหรือพูดขู่ลอยๆ บ่อยเกินไป หากคุณคาดโทษพวกเขาแบบขอไปที หากคุณ กล่าวเตือนหรือให้โอกาสพวกเขาบ่อยเกินไป ก็ต้องกำหนดระดับของผลลัพธ์ในแต่ละการกระทำไว้ด้วยว่า มีโอกาสเป็นครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 2 หรือ ครั้งที่ 3 เป็นต้น โดยให้มีการคาดโทษหรือกำหนดมาตรการลงโทษเอาไว้ด้วย มิฉะนั้น พวกเขาจะเริ่มทดสอบเพื่อท้าทายดูว่า คราวต่อไปพวกเขาจะได้รับโอกาสอีกกี่ครั้ง
  • ต้องแน่ใจดีกว่า ผู้ปกครองทั้งคู่ มีการบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวไปในทิศทางเดียวกัน เด็กของคุณจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองจากผู้ปกครองทั้งสองฝั่ง ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง
  • ความเสมอต้นเสมอปลาย ยังรวมถึงการที่ต้องทำให้เด็กตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้น เมื่อเขาหรือเธอกระทำความผิด โดยไม่สำคัญว่าจะเป็นในสถานที่ใด เพราะผู้ปกครองบางคนอาจกลัวที่จะลงโทษเด็กในสถานที่สาธารณะ ด้วยความกังวลว่าผู้อื่นจะมองอย่างไร แต่มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแสดงให้เด็กของคุณรู้ว่า การกระทำผิดย่อมมีผลที่ตามมาเสมอ ไม่ว่าจะกระทำที่ไหน


3.4 ให้อภัยโดยเร็ว
   อย่าลืมกล่าวย้ำกับเด็กอยู่เสมอว่า คุณรักเขาหรือเธอเสมอ ไม่ว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้น และบอกพวกเขาด้วยว่า พวกเขาเป็นเด็กดี แต่การกระทำทุกอย่างต้องมีผลที่ตามมาเสมอ

 

4.เข้าใจและจัดการกับภาวะซนสมาธิสั้น

4.1 เข้าใจความแตกต่างของเด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น 
 

 เด็กที่มีภาวะซนสมาธิสั้น อาจจะมีท่าทีเชื่อฟัง ก้าวร้าว ต่อต้านระเบียบ ไม่สนกฎเกณฑ์ เจ้าอารมณ์มากเกินไป มีความตั้งใจแรงกล้า หรืออาจจะเป็นคนขาดความยับยั้งชั่งใจก็ได้ แม้ว่าที่ผ่านมาเป็นระยะเวลานาน วงการแพทย์ได้สันนิษฐานว่า เด็กที่มีอาการเหล่านี้ เป็นผลพวงมาจากการเลี้ยงดูที่แย่ของผู้ปกครอง แต่เมื่อถึงต้นศตวรรษที่ 20 บรรดานักวิจัยก็เริ่มเพ่งเล็งไปที่การทำงานของสมอง อันน่าจะเป็นสาเหตุของภาวะซนสมาธิสั้น

  • นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาโครงสร้างทางสมองของเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น และพบว่า สมองบางส่วนมีขนาดเล็กกว่าปกติ หนึ่งในบริเวณดังกล่าวก็คือ เบซัลแกงเกลีย (basal ganglian) ซึ่งทำหน้าที่ปรับความสมดุลการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ รวมถึงหน้าที่ในการกำหนด

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain (มี@ด้วย)

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,044