ปัญหาสมาธิสั้น มีผลต่อลูกอย่างไร..?

"สมาธิสั้น" มีสาเหตุมาจากอะไร..?

    ปัจจุบัน สาเหตุของการเกิดโรคสมาธิสั้นนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด พ่อ-แม่ที่มีลูกป่วยด้วยโรคดังกล่าว จึงไม่ควรโทษตัวเอง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าว และ มีส่วนน้อยที่เป็นผลจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ หลักฐานจากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า ความผิดปกติทางพันธุกรรม น่าจะเป็นสาเหตุของโรคสมาธิสั้นมากกว่าการเลี้ยงดู  แต่ทั้งนี้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กบางประการ อาจมีผลทำให้อาการของโรคสมาธิสั้น แสดงออกรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

 ปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคสมาธิสั้น มีดังนี้

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม   โรคสมาธิสั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีนส์ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีแนวโน้มที่จะมีญาติป่วยด้วยโรคดังกล่าวมากกกว่าคนปกติประมาณ 4 เท่า  นักวิจัยพบว่า  อาจมียีนส์หลายตัวที่ส่งผลต่อการเป็นโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยีนส์ที่ส่งผลต่อการหลั่งสารโดพามีนในสมอง โดยผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น มักมีระดับของสารโดพามีนในสมองต่ำกว่าคนทั่วไป
  • การรับประทานอาหาร   สารบางอย่างในอาหาร  อาจมีผลต่อความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น  นักวิจัยบางคนเชื่อว่า วัตถุเจือปนในอาหารบางชนิดทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นรุนแรงขึ้น และ บางคนเชื่อว่าการขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคนี้ เนื่องจากกรดไขมันดังกล่าว สำคัญต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของเด็ก จึงเป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการของเด็กโรคสมาธิสั้น และ ยังอาจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนของเด็กได้อีกด้วย
  • สภาพแวดล้อม   มารดาที่สูบบุหรี่ อาจมีผลทำให้บุตรในครรภ์ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น  เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ จะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนแก่บุตรในครรภ์ได้  นอกจากนี้การได้รับสารพิษประเภทตะกั่ว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก ทั้งจากสีทาบ้านแบบเก่า และ ระบบท่อน้ำที่ไม่ได้รับการซ่อมแซมเป็นเวลานาน
  • สมองทำงานผิดปกติ   ความผิดปกติทางสมอง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมาธิสั้นในเด็กจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสกับเชื้อโรคบางชนิดหรือจากอุบัติเหตุ  ไม่ว่าตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หรือ เมื่อยังเด็ก  ทั้งนี้นักวิจัยบางคนเชื่อว่า การกระทบกระเทือนของสมองจากอุบัติเหตุ อาจทำให้คนปกติป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นได้  เนื่องจากสมองส่วนหน้าถูกทำลาย นอกจากนี้การที่เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือ เด็กแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ อาจทำให้สมองของเด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือ ผิดปกติ  จึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมาธิสั้น

ปัญหาสมาธิสั้นมีผลต่อลูกอย่างไร..?

    เมื่อสงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น พ่อแม่มักขอคำปรึกษาแพทย์อายุรกรรมหรือกุมารแพทย์ก่อน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ นักจิตวิทยาเด็ก จิตแพทย์เด็ก หรือ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เป็นต้น เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคที่ถูกต้อง เพราะ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้ว เด็กโรคสมาธิสั้นมักประสบปัญหาในการเรียน  มีปัญหาบ่อย และ ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้  เด็กอาจเครียดและเกิดความกังวลใจ จนนำไปสู่ความไม่มั่นใจในตนเอง และ อาจนำไปสู่ความตึงเครียดภายในครอบครัวได้ (อาจทำให้เกิดปัญหาภายในตัวเด็กและครอบครัวได้)

   ปัจจุบัน การรักษาโรคสมาธิสั้นประกอบด้วย 2 วิธีหลัก กล่าวคือ การบำบัดทางจิต และ การรักษาด้วยยา โดยทั้งสองวิธีสามารถทำควบคู่กันได้ หรือ ทำวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ผลการวิจัยจำนวนมากระบุว่า การรับประทานยาเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถบรรเทาอาการของโรคสมาธิสั้นได้ดีนัก  ดังนั้นการรักษาด้วยทั้งสองวิธีควบคู่กัน จึงเป็นทางเลือกดีที่กว่า เพราะ ยาจะช่วยบรรเทาบางอาการของโรคในทันที ในขณะที่การบำบัดจะช่วยให้เด็กโรคสมาธิสั้น เรียนรู้ทักษะในการใช้ชีวิต

จากผลการวิจัยพบว่า

  • 1 ใน 3 ของเด็กที่เป็นโรคซนอยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น เมื่อโตขึ้น มีวุฒิภาวะดีขึ้น เด็กก็จะค่อยๆ หายได้เอง

  • 1 ใน 3 ดีขึ้น เมื่อมีการปรับพฤติกรรมที่ถูกต้อง และ ได้รับการรักษาด้วยยาในการดูแลของแพทย์

  • 1 ใน 3 อาจมีปัญหาการเรียน สอบตก เรียนไม่จบ ซึมเศร้า ติดยา ต่อต้านสังคม หรือ กลายเป็นอาชญากร

และนอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มักไม่ประสบความสำเร็จเท่าความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทั้งด้านการเรียน และ มนุษยสัมพันธ์  มักมีปัญหาทางด้านจิตใจ คือ มองตนเองเป็นคนไม่ดี ไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ

 

"เด็กสมาธิสั้น ก็มีหัวใจเหมือนกัน" โรคสมาธิสั้นในเด็ก สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ด้วยการดูแล เอาใจใส่ เข้าใจในพฤติกรรม และให้กำลังใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้ กลับเข้ามาอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติ

พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน! 4 เคล็ดลับ เตรียมพร้อมสร้างอนาคตให้ลูกด้วยการออม |  บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ - National Credit Bureau

พ่อ-แม่ จะช่วยแก้ไขปัญหาลูกสมาธิสั้นได้อย่างไร..?

การรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก สามารถเริ่มต้นได้ที่บ้าน  พ่อ-แม่ ผู้ปกครองต้องเข้าใจว่า เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ต้องการความเป็นระบบระเบียบ ความสม่ำเสมอ การสื่อสารที่ชัดเจน รางวัลและการลงโทษต่อการกระทำของเขา พ่อ-แม่ควรให้ความรัก กำลังใจ และ ความช่วยเหลือกับลูกมากๆ

โดยวิธีการเลี้ยงลูกที่เป็นโรคสมาธิสั้นสามารถสรุปได้ดังนี้

  • สร้างทัศนคติที่ดี   พ่อแม่ควรมีทัศนคติที่ดีและใจเย็นกับพฤติกรรมของลูก สามารถมองข้ามความผิดเล็กๆ น้อยๆ และ เชื่อมั่นว่าลูกสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ ทั้งนี้พ่อแม่ต้องรู้จักผ่อนคลาย และ ดูแลตนเองด้วย
  • จัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นระบบ   เด็กโรคสมาธิสั้นจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้  หากมีการจัดตารางกิจกรรม และ สถานที่ที่ชัดเจน พ่อ-แม่ควรจัดทุกอย่างให้เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการวางสิ่งของ การจัดตารางเวลา เป็นต้น ทั้งนี้ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก
  • ตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจน   พ่อ-แม่ควรตั้งกฎระเบียบที่ชัดเจนให้เด็กเข้าใจและปฏิบัติตาม โดยมีการให้รางวัลเมื่อทำดี และ ลงโทษเมื่อทำผิด ทั้งนี้พ่อ-แม่ต้องตระหนักว่า การให้คำชมและรางวัล ถือเป็นการให้กำลังใจที่ดีสำหรับเด็ก
  • ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ   พ่อ-แม่ควรให้ลูกออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี  อีกทั้งเป็นการฝึกสมาธิและลดความเครียดอีกด้วย  การนอนหลับให้เพียงพอ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสุขภาพที่ดี
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์   พ่อ-แม่ควรเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกรับประทาน โดยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ จะเสริมสร้างสุขภาพกาย และ สุขภาพจิตที่ดี  อีกทั้งสามารถลดอาการของโรคสมาธิสั้นได้อีกด้วย
  • เรียนรู้การเข้าสังคม   แม้จะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กโรคสมาธิสั้น ที่จะเรียนรู้การเข้าสังคม  แต่พ่อ-แม่สามารถฝึกให้ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี  รู้จักอ่านสีหน้าและท่าทางของผู้อื่น  รู้จักโต้ตอบและพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อปูทางในการปรับตัวเข้าสังคมในลำดับต่อไป

นอกจากนี้ พ่อ-แม่ ยังควรร่วมมือกับแพทย์ นักบำบัด และครู  เพื่อวางแผนการรักษาสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นรายบุคคล เพื่อให้การรักษาได้ผลที่น่าพึ่งพอใจสูงสุด  ทั้งนี้การรักษาที่ดี ควรประกอบด้วยการบำบัดทางพฤติกรรม การดูแลและเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่บ้าน การให้กำลังใจ และ การช่วยเหลือที่โรงเรียน ควบคู่กับการรับประทานยา เพราะ ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่ดีที่สุดคือ "ความรัก ความเข้าใจ ของพ่อ-แม่ ที่มีต่อลูก"

 
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
เว็บไซต์ Taamkru
เว็บไซต์ Adhdthai
นายแพทย์มาโนช อาภรณ์สุวรรณ์
 
========================================
เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ เพิ่มสมาธิ
เปิดเทอมใหม่นี้ ให้ลูกน้อย 
ด้วย "อเลอไทด์"


ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain 
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง 
√ เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
 กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
 ช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
√ ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น 
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,216