น้องนัย
- ก่อนทาน - เป็นเด็กสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิในการจดจ่อกับเรื่องที่ทำ แต่เป็นเด็กฉลาดไอคีวดี เคยทานยาจากโรงพยาบาล
- หลังทาน - อาการดีขึ้นจนไม่ให้ทานยาจากโรงพยาบาลแล้ว
สิ่งที่ พ่อ-แม่ ทุกคนอยากรู้ก็คือ ลูกของเราที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น โตขึ้นแล้วเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง
ลูกจะดีขึ้นไหม หายขาดไหม..?
ลูกจะเรียนหนังสือได้ไหม เข้ามหาวิทยาลัยได้หรือเปล่า..?
ลูกจะทำงานได้ไหม จะเข้ากับคนรอบข้างได้่หรือไม่..?
ลูกจะมีครอบครัวได้ไหม..? มีลูกหลานแล้วจะเป็นอย่างไร..?
นี่คงจะเป็นคำถามในใจพ่อแม่ทุกคน ถ้าเราทราบข้อมูลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจะได้ทำการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องรวดเร็ว
เด็กที่เป็นสมาธิสั้นเมือโตขึ้นจะหายได้หรือไม่..?
เมื่อเด็กโตขึ้นผ่านวัยรุ่น ประมาณ 1 ใน 3 ของเด็กมีโอกาสหายจากโรคนี้ได้เอง สามารถเรียนหนังสือหรือ ทำงานได้โดยปกติโดยไม่ต้องรับประทานยา เนื่องจากระบบประสาทในสมองส่วนหน้ามีการพัฒนาการที่สมวัยมากขึ้น อาการมักจะดีขึ้น โดยไม่ต้องรักษาอะไรเลย
แล้วเด็กอีก 2 ใน 3 ละจะเป็นอย่างไรบ้าง..?
มีการศึกษาในระยะยาวของเด็กสมาธิสั้นเพื่อดูว่าเด็กเหล่านี้อายุมากขึ้น แล้วอาการของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง จะหายเมื่อไหร่ และจะมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นได้บ้าง เด็กเหล่านี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่..?
โดยเรามาดูตัวอย่างผลการศึกษาเรื่องเหล่านี้กัน
การศึกษาของ Weiss
Weiss และผู้ร่วมงาน ได้ติดตามดูกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่วินิจฉัย เมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 8 ปี โดยติดตามเมื่อ 5, 10, 15 ปีผ่านไป พบว่า เมื้อผ่านไป 5 ปี (อายุเฉลี่ยประมาณ 13 ปี) ถึงแม้ว่าอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และก้าวร้าวจะลดลงตามอายุ แต่ส่วนใหญ่จะยังคงมีปัญหาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมตามวัย ไม่สามารถทำอะไรให้บรรลุเป้าหมายได้ และ มีความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
- ร้อยละ 80 จะมีผลการเรียนที่ไม่ดี โดยร้อยละ 70 จะเรียนซ้ำ อย่างน้อย 1 ปี และร้อยละ 35 จะเรียนซ้ำ 2 ปี หรือมากกว่า
- ร้อยละ 25 จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ( Antisocial) • เมื่อผ่านไป 10 ปี (หลังผ่านวัยรุ่น) จะมีอาการวู่วาม ความวิตกกังวล ความตึงเครียด และอาการต่อต้านมากขึ้น ส่วนน้อยจะมีปัญหาทางจิตเวชที่รุนแรงหรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
เมื่อผ่านไป 15 ปี (เป็นผู้ใหญ่อายุประมาณ 25 ปี) จะยิ่งมีบุคลิกภาพผิดปกติในด้านต่อต้านสังคมมากกว่าคนทั่วไปกลุ่มควบคุม (คือ ร้อยละ 23 : 2) และจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 66 จะยังคงมีอาการผิดปกติของโรคสมาธิสั้นอย่างน้อย 1 อย่าง
การศึกษาของ Jan Loney
Jan Loney และผู้ร่วมงาน ได้ศึกษาเด็กสมาธิสั้นที่วินิจฉัยเมื่ออายุระหว่าง 4 – 12 ปี จำนวน 200 ราย เมื่อเด็กเหล่านี้อายุ 21- 23 ปี จำนวน 65 ราย พบว่ามีโอกาสสูงในการเกิดบุคลิกภาพต่อต้านและเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
Lambert ได้รับการศึกษาเด็กสมาธิสั้นก็พบว่า
- ร้อยละ 20 หาย
- ร้อยละ 37 มีความผิดปกติด้านการเรียนลำพฤติกรรมเหลืออยู่
- ร้อยละ 43 อาการคงเดิม
จะเห็นได้ว่าแต่ละการศึกษาที่แตกต่างกันก็จะมีข้อสรุปที่แตกต่างกันบ้าง แต่ว่าแนวโน้มทั้งหมดแล้วจะคล้ายกัน กล่าวคือ
- เมื่อโตขึ้นอาการหุนหันพลันแล่นและอาการไม่อยู่นิ่ง จะลดลงทำให้เข้าใจผิดว่าหายแล้ว แต่ถ้าดูกันดีๆ จะพบว่าเขายังมีความผิดปกติอยู่เทียบกับเพื่อนอายุรุ่นเดียวกัน
- ส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 25-50 ยังคงมีปัญหาขาดความสามารถในการควมคุมตนเอง วอกแวก พฤติกรรมต่อต้านสังคม อารมณ์ร้อน ติดสุราและยาเสพติดได้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
- เด็กสมาธิสั้นบางส่วนเท่านั้นที่อาการจะหายไป
ปัจจัยที่สำคัญมากในการรักษาโรคสมาธิสั้น คือ การพยายามมลดสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้สมาธิสั้นมากขึ้น และปรับพฤติกรรมด้วยการเลี้ยงดูอย่างถูกวิธี เพราะ ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่ดีที่สุดคือ “ความรัก ความเข้าใจ ของพ่อแม่”
ผลลัพธ์การใช้อาจแตกต่างในแต่ละบุคลค