9 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Attention Deficit Disorder (ADD) หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD)  เป็นสภาวะซึ่งมีการพูดถึงกันมาก จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเป็นกังวล สับสนเกี่ยวกับเรื่องโรคนี้ ซึ่งบางครั้งอาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกิดเป็นความเชื่อหรือความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ้าง ซึ่งพอจะรวบรวมมาไว้ ณ ที่นี้พอสังเขป คือ

1. เข้าใจว่า “ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะต้องซนมาก ”

    แม้ว่าเด็กที่ซนมาก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่นึกถึงเรื่อง โรคสมาธิสั้น  แต่ก็มีเด็กอีกจำนวนมากที่มี สมาธิสั้น ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ไม่สามารถมีสมาธิต่อการทำสิ่งต่างๆได้  โดยที่ไม่มีอาการซนร่วมด้วย  ดังนั้นบางคนจึงเรียกว่าเป็น Attention Deficit Disorder (ADD)  ในรายที่มี สมาธิสั้น แต่ไม่ซน และ ใช้คำว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) กับ สภาวะที่มีสมาธิสั้น ร่วมกับ การซนมาก ไม่อยู่นิ่ง


2. เข้าใจว่า “ โรคสมาธิสั้นนี้จะดีขึ้น และ หายได้เอง เมื่อโตขึ้น โดยไม่ต้องรับการรักษา ”

     แม้เด็กที่มีสมาธิสั้น เมื่อโตขึ้นและมีวุฒิภาวะมากขึ้น ดูเหมือนจะปรับตัวได้ดีขึ้น  แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้หายเป็นปกติเลยทีเดียว  ขึ้นอยู่กับ ความช่วยเหลือของคุณพ่อ คุณแม่ คุณครู และ คนรอบข้าง ที่เข้าใจเขา  ซึ่งจะช่วยให้เขาปรับตัวได้ดีขึ้น  สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม และ ดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยไม่เป็นปัญหา หรือภาระกับใคร


3. เข้าใจว่า “ การรักษาด้วยยา ริตาลิน (Ritalin) จะช่วยให้เด็กหายเป็นปกติ ”

     แม้ว่าการใช้ยาเพื่อรักษาโรคสมาธิสั้น จะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น และ ซนน้อยลงในเด็กหลายราย  ทำให้สามารถกลับเข้าเรียน และ มีกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในห้องเรียนได้  แต่ก็ยังต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาที่ครอบคลุมในด้านอื่นๆด้วย  โดย การปรับพฤติกรรม ทั้งที่บ้าน และ ที่โรงเรียน เช่น การจัดการเรียนการสอน (    Academic support)  ให้เหมาะสมกับเด็ก การช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กได้อย่างถูกวิธี (Parenting strategies)  ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และ การทำพฤติกรรมบำบัด (Behavior-modification treatment) โดยการเข้ากลุ่ม  เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ การควบคุมตนเอง และ มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนได้ โดยมีนักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด และ คุณหมอด้านพัฒนาการเด็ก คอยให้คำแนะนำ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ เข้าใจในพฤติกรรมต่างๆ ของเขา และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือเขา เมื่อเขาอยู่กับคนอื่นๆ ทั้งที่บ้าน และ ที่โรงเรียน


4. เข้าใจว่า “ อาหารบางอย่าง ทำให้เด็กมีสมาธิสั้นหรือซนมาก ”

    มีการพูดถึงกันมากว่า การทานอาหารบางอย่าง  จะทำให้เด็กมีสมาธิสั้น หรือ ซนกว่าปกติ   เช่น ของหวานจัด , ผงชูรส , สีผสมอาหาร ฯลฯ  ที่มีส่วนทำให้เด็กมีสมาธิสั้น หรือ ซนกว่าปกติ


5. เข้าใจว่า “ เป็นความผิดของพ่อแม่ ที่ตามใจลูกจนเหลิง ลูกจึงมีสมาธิสั้น และซนมาก ”

    แม้ว่าเด็กที่ถูกพ่อแม่ตามใจมาก จะมีลักษณะที่ชอบซนมาก และ บางครั้งควบคุมกริยามารยาทไม่ได้เมื่ออยู่กับผู้อื่น  แต่ก็ไม่ใช่เป็นสาเหตุของโรคสมาธิสั้น เนื่องจากเชื่อว่า การเกิดโรคสมาธิสั้นนั้น เป็นจากความผิดปกติของสมองของเด็ก ในระดับการทำงานของเซลล์สมอง (Biochemical condition) ที่จะทำงานประสานกันอย่างซับซ้อน เพื่อให้มีพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม  หลายครอบครัวที่ลูกมีปัญหาสมาธิสั้นนั้น เป็นครอบครัวที่มีระดับการศึกษา และ สติปัญญาดี และ มีการดูแลเลี้ยงดูลูกอย่างดี มีการเอาใจใส่อบรมเลี้ยงดู อย่างเหมาะสมมาตลอด แต่ลูกก็ยังเป็น โรคสมาธิสั้น


6. เข้าใจว่า “ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น แกล้งทำ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนอื่นๆ ”

    ที่จริงแล้ว เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นที่โตพอ จะพยายามควบคุมตนเองให้อยู่นิ่ง หรือ มีสมาธิกับสิ่งที่ตนเองต้องทำอยู่ตรงหน้า  แต่ด้วยสภาวะที่เขาเป็น  ทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตนเอง ให้ทำได้ดีอย่างเด็กปกติคนอื่นๆ   สิ่งที่เกิดขึ้น จึงไม่ใช่เป็นจากการที่เขาแกล้งทำ  แต่เป็นจากการที่เขาไม่สามารถควบคุมตนเอง ให้อยู่นิ่งได้อย่างที่ต้องการต่างหาก


7. เข้าใจว่า “ การทานยา ริตาลิน ทำให้เด็กไม่เจริญเติบโต ”

    แม้ว่าจะมีความเชื่อว่า ยา ริตาลิน จะทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย แต่จากการติดตามดูการเจริญเติบโตของเด็ก ที่ต้องทานยา ริตาลินเป็นเวลานานๆ  พบว่า เด็กเหล่านี้สามารถมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย (โดยเฉพาะส่วนสูง) เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นที่เป็นปกติ แม้ว่าเขาจะยังทานยานั้นอยู่ก็ตาม


8. เข้าใจว่า “ เด็กที่มีสมาธิสั้น จะไม่มีวันที่จะทำงานอะไร ที่ต้องการสมาธิได้สำเร็จ ”

    เด็กที่มีสมาธิสั้น อาจไม่ชอบการทำอะไรที่ซ้ำๆ น่าเบื่อ เพราะเขาไม่สามารถควบคุมสมาธิให้ติดตามได้ตลอด  แต่เด็กจะสามารถเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ที่เขาชอบได้ดี จึงต้องมีคุณพ่อ คุณแม่ และ คุณครู ที่เข้าใจในภาวะที่เขาเป็น และช่วยเหลือเขา ในการจัดกิจกรรม และ การเรียนการสอน ที่เหมาะสมแก่เขา พบว่าผู้ใหญ่หลายคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์  นักการเมือง  นักธุรกิจ  ศิลปิน  เมื่อตอนเด็กเคยเป็นโรคสมาธิสั้น แต่จากการที่เขาได้รับการช่วยเหลือดูแลที่ถูกต้อง  ทำให้เขาสามารถปรับตัว และ ประสบความสำเร็จ  ในหน้าที่การงานที่เขาทำได้ และ ยังพบว่าคนเหล่านี้ อาจมีความกระตือรือล้น และ  ความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นพิเศษกว่าคนอื่นด้วย


9. เข้าใจว่า “ เด็กที่ต้องทานยารักษาโรคสมาธิสั้น เช่น ริตาลิน หรือ ยาตัวอื่นๆ จะทำให้เด็กเหล่านี้ มีโอกาสติดยาด้านจิตประสาท เมื่อตอนโตขึ้น ได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ ”

    แม้ฟังดูน่าจะเป็นเช่นนั้น แต่จากการศึกษาติดตามเด็กเหล่านี้ กลับพบว่า เมื่อเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมด้วยยา และ พฤติกรรมบำบัด และ ได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น ให้เขาสามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่น และ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติสุข จะไม่มีพฤติกรรมที่ชอบเสี่ยงอันตราย (Risk-taking behavior) ที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง หรือ คนอื่น และ จะมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง (self esteem) และ มีความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ไม่พบปัญหาการติดยาเสพติด หรือ ติดเหล้า เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่


ดังนั้นการเลี้ยงดูของ พ่อแม่ และ ความเข้าใจของคุณครู และ กำลังใจของคนรอบข้างนั้น มีความสำคัญต่อเด็กสมาธิสั้น และ สามารถช่วยให้เด็กเหล่านั้นดีขึ้น  ซึ่งมีหลายกรณีพิสูจน์ว่า เด็กสมาธิสั้น ไม่เพียงไม่เป็นปัญหาของสังคม แต่ยังสามารถเติบโต เป็นคนดีคนเก่งของสังคม เป็นที่พึ่งของตนเองและครอบครัวได้ 

การทำความเข้าใจและหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กำลังใจ ในการรับมือช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นอย่างถูกทางนั้น นับเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
นพ. นาโนช อาภรณ์สุวรรณ
 

==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้ เปิดเทอมใหม่นี้
ให้ลูกน้อย 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"
 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 410,584