ปัญหาลูกสมาธิสั้น รักษาได้ !!

เด็กสมาธิสั้น รักษาได้ !!    โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่  โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้คิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน กระทั่ง  อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ก็ล้วนมีประวัติว่าเป็นรคสมาธิสั้น ทั้งสิ้น


สมาธิ คือ กระบวนการ ที่คนเรามีจุดสนใจ จดจ่อ และ เอาใจใส่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเลือกที่จะสนใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือ เป็นระยะเวลานานๆ ก็ได้ตามความต้องการของคนๆ นั้น รวมถึง ความสามารถที่จะเบนความสนใจจากสิ่งหนึ่ง ไปยังอีกสิ่งหนึ่งได้เมื่อเราต้องการ 

ความสนใจ เกี่ยวข้องกับ "สมาธิ" อย่างไร?

ความสนใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสมาธิ  การก่อให้เกิดสมาธินั้น ต้องอาศัยความสนใจเป็นหลัก รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ความสนใจ จึงเป็นการรวบรวมความคิดให้จดจ่อในจุดนั้นๆ ซึ่งการรวบรวมความคิดให้ยาวนาน และ ต่อเนื่อง จึงสามารถทำให้เกิดเป็น สมาธิ ขึ้นมาได้ 

สมาธิมีผลอย่างไรต่อเด็กในวัยเรียน 

สมาธิ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในคนทุกวัย ไม่เพียงแต่ในเด็กเท่านั้น แต่เด็กซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้นั้นหากมีสมาธิดี จะได้เปรียบกว่า ทั้งในด้านการฟัง การคิด การรับรู้ และ มีความสามารถในการจดจำ ได้มากกว่า เด็กที่มีสมาธิสั้น

เด็กที่มีสมาธิสั้นนั้น ยากที่จะบังคับจิตใจให้จดจ่อ หรือ สนใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นระยะเวลานาน  จะวอกแวกได้ง่าย  ซึ่งนอกจากสมาธิสั้น จะมีผลต่อการเรียนรู้แล้ว ยังมีผลเสียอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอีกหลายอย่างต่อตัวเด็ก และ ต่อครอบครัวตามมาด้วย 

"สมาธิสั้น" คืออะไร 

คุณคงเคยได้ยินคุณพ่อ คุณแม่ หรือ คุณครู บ่นเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่งว่า

  “ดื้อ”    “อยู่ไม่สุข”    “ทำไมไม่อยู่นิ่งๆ บ้าง”   

  “ไม่ฟังครูเลย”    “ใจลอย”    “ขี้ลืม”   

  “ขี้เกียจจัง”    “อย่าพูดแทรก”     “ซนหกล้มอยู่เรื่อย”    “ซุ่มซ่าม” 

แน่นอนค่ะว่า เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น จะส่งผลกระทบต่อครอบครัว และ ตัวเด็กเองเป็นอย่างมาก เพราะเด็กจะไม่รู้จักระวังอันตรายและคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง ซึ่งจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเครียด เพราะ กังวลเป็นห่วงลูกตลอดเวลา

เมื่อเป็นห่วงมากก็แสดงออกด้วยการตักเตือน หรือ บ่นมากเป็นธรรมดา ส่งผลให้เด็กรู้สึกว่ามีปมด้อย เพราะ ถูกตำหนิอยู่เสมอ  บางคนอาจถูกทำโทษจากพ่อแม่ หรือ ครู   บางคนทะเลาะกับเพื่อน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ทัน  ผลการเรียนแย่ลง อาจสอบไม่ผ่าน  จึงมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนโง่  เรียนรู้อะไรยาก  ไม่มีใครอยากคบด้วย  เด็กจะยิ่งเครียด แล้วอาจแยกตัวออกไปอยู่คนเดียว เพราะ รู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิด อาการซึมเศร้าได้ 

โดยทั่วไปแล้ว ในเด็กวัยเรียนจะพบเด็กสมาธิสั้นได้ร้อยละ 3-5  ซึ่งพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ถึงร้อยละ 4  สำหรับในประเทศไทยพบว่า มีเด็กสมาธิสั้นร้อยละ 5 โดยเฉลี่ยแล้ว ในห้องเรียนห้องหนึ่ง จะพบเด็กสมาธิสั้นประมาณ 2- 3 คน !!! 

ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นนั้น ก็มีเหมือนกัน  สังเกตได้ว่า จะเป็นคนที่มีความสนใจอะไรน้อยเกินไป ซึ่งอาจขาดความสนใจบางส่วน หรือ ทั้งหมด ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องทำเป็นประจำ เขาจะรู้สึกเบื่อหน่าย และ ไม่สามารถอดทนที่จะรอคอย หรือ ทำงานที่ต้องใช้ระยะเวลานานๆ ได้ 

แล้วอะไรคือ สาเหตุของสมาธิสั้น ?

โรคสมาธิสั้น นั้นเกิดจากการทำงานที่ไม่ปกติของระบบประสาทชีววิทยาภายในร่างกาย อันได้แก่

>> สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe of Cerebral Hemisphere) ทำงานน้อยกว่าปกติ  ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนที่ควบคุมความคิด การเกิดสมาธิ การจัดระเบียบ และ การทำกิจกรรมแบบมีจุดมุ่งหมาย

>> ส่วนความผิดปกติอีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดปัญหาของการหลั่งสารเคมีในสมองที่เรียกว่า Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยกระตุ้นทำให้มีการเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เนื่องจากการขาด หรือ มีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่ไม่สมดุล และ จะส่งผลให้แสดงพฤติกรรมผิดปกติ จนไม่สามารถหยุดการกระทำได้

>> นอกจากนี้ การเป็นโรคภูมิแพ้ การที่สมองของเด็กได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างการคลอด หรือ ได้รับการติดเชื้อหลังคลอด และ การที่เด็กได้รับสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สารตะกั่ว  ล้วนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้ 

พ่อแม่บางคนที่มีลูกสมาธิสั้น มักจะโทษตัวเองว่าเป็นเพราะตนเองเลี้ยงลูกไม่ดี ....ซึ่งขออธิบายค่ะว่า  การเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดโรคสมาธิสั้น แต่การเลี้ยงดู และ การดูแลที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง  สามารถส่งผลให้เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นอยู่แล้ว มีอาการมากขึ้น ซึ่งในทางตรงกันข้าม การดูแลที่ดี กลับจะช่วยให้เด็กสามาธิสั้น มีอาการดีขึ้นได้ 

รู้ไ
ด้อย่าง...ว่า เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น

การที่จะสรุปว่าเด็กคนใดเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ กุมารแพทย์ และจิตแพทย์ เป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งในประเทศไทยจะใช้คู่มือของ DSMIV 1994 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (Psycho American Association) ซึ่งลักษณะเฉพาะของสมาธิสั้น มีอยู่ 3 อย่างคือ 

  • อาการขาดสมาธิ (Inattention) จำแนกได้ 9 อาการ 
  • ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) จำแนกได้ 6 อาการ 
  • อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) จำแนกได้ 3 อาการ 
  • อาการดังกล่าวต้องแสดงออกก่อนอายุ 7 ปี 

อาการขาดสมาธิ (Inattention) ประกอบด้วย

  1.  มีความเลินเล่อในการทำกิจกรรมหรือการทำงานอื่นๆ และ มักจะละเลยในรายละเอียด 
  2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือ การเล่น 
  3. ดูเหมือนไม่เชื่อฟัง และ ไม่สนใจเมื่อมีคนพูดด้วย 
  4. ทำกิจกรรมไม่เสร็จ ทำตามคำสั่งไม่จบ 
  5. มีความลำบากในการจัดระเบียบงาน หรือ กิจกรรมที่ทำ 
  6. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิ 
  7. ทำของหายบ่อยๆ 
  8. วอกแวกง่าย 
  9. ขี้ลืมเป็นประจำ

Donald Getz, O.D. เล่าว่า  คุณแม่ของเด็กชายชาวอเมริกันชื่อเอ็ดดี้ อายุ 7 ปี บอกว่า บางทีเอ็ดดี้เขียนหนังสือได้   1-2 ตัว ก็จะลุกขึ้นวิ่งเล่น หรือ เลิกทำไปเสียเฉยๆ บางทีเขียนหนังสือ หรือ ระบายสี ได้นิดเดียวก็เปลี่ยนที่ เพราะ เขาขาดสมาธิ  แล้วอาจมีปัญหาทางสายตา ด้วยการเขียนหนังสือกลับทาง เช่น การเขียนหนังสือจะเขียนกลับจาก “was” เป็น “saw” ,  “on” เป็น “no”  หรือ  เขียนตัวเลขกลับ จาก “6” เป็น “9”  หรือ  “12” เป็น “21”  เป็นต้น 

อาการซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) ประกอบด้วย 

  1. นั่งไม่นิ่งขยับไปมา บิดตัวไปมา 
  2. ลุกจากที่นั่งในห้องเรียน หรือ ในที่อื่นที่ต้องนั่ง 
  3. วิ่งปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ( มีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย) 
  4. ไม่สมารถเล่นเงียบๆ คนเดียวได้ 
  5. เคลื่อนไหวตลอดเวลา 
  6. พูดมากเกินไป 

อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) ประกอบด้วย 

  1. ไม่อดทนรอคอย 
  2. พูดโพล่งออกมาในขณะที่ ยังถามไม่จบ 
  3. พูดแทรก ขัดจังหวะ การสนทนา หรือ การเล่น 

ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องปรากฏขึ้น อย่างน้อยใน 2 สถานการณ์  ไม่ว่าจะเป็น ที่บ้าน ในห้องเรียน สนามเด็กเล่น หรือ ในที่ชุมชน  

เราจะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไร 

  • หากสังเกตว่าเด็กเข้าข่ายมีอาการสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นอกจากนี้แพทย์ยังจะให้ตรวจโรคทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจสติปัญญาของเด็ก ซึ่งในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจจะมีการสัมภาษณ์คุณพ่อ-แม่ และ ครู หากเด็กถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น แพทย์จะให้การรักษาต่อไป 
  • การใช้พฤติกรรมบำบัด โดยนักจิตวิทยา ในกรณีที่เด็กมีอาการก้าวร้าวรุนแรง 
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ 
  • ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ใส่สี ใส่สารกันบูด สารแต่งกลิ่นรส หรือ น้ำตาลมากเกินไป รวมถึง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เด็กมีอาการสมาธิสั้นมากขึ้น 
  •  การเลี้ยงดูเด็กโดยไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน เช่น การที่พ่อแม่เร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวัน การให้เด็กเล่นเกมส์มากๆ หรือ การปล่อยให้ดูโทรทัศน์ตลอดเวลา จะมีผลทำให้เด็กที่สมาธิสั้นอยู่แล้ว มีอาการมากขึ้น และ อาจทำให้เด็กปกติ เกิดอาการที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม” ได้ 
    หมายถึงว่า จากเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งอยู่แล้ว จะกลายเป็น ไม่อยู่นิ่งมากขึ้น และ ไม่รู้จักควบคุมตนเอง 

    ดังนั้นการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การตั้งกฎระเบียบภายในบ้าน และการสอนให้รู้จักการทำงานให้เป็นขั้นตอน ตามลำดับก่อนหลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูเด็ก และ นอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็ก การปรับทัศนคติที่ดีต่อเด็ก มีความเข้าใจเด็ก ให้กำลังใจ และ ไม่ตำหนิเด็กด้วย 
  • คุณครูที่โรงเรียนจะช่วยเด็กได้มากในการให้เวลากับเด็ก  หาสิ่งที่เด็กชอบมาให้ทำ  พร้อมทั้งให้กำลังใจ คำชมเชย และ รางวัลแก่เด็ก 


สมาธิสั้นหากไม่ได้รับการรักษา  จะส่งผลทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย ขาดความภาคภูมิใจ และ ความมั่นใจในตนเอง คิดว่าตัวเองมีปมด้อย ไม่เก่ง ไม่ดีเหมือนคนอื่น ความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้ จะทำให้เด็กต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำตัวผิดระเบียบ บางคนอาจถึงขั้นหันไปใช้ยาเสพติด เพื่อชดเชยความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ 

การรักษาโรคสมาธิสั้น อาจต้องใช้เวลาในการรักษาตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่ง ถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่ง โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ นอกจากจะได้รับการรักษาโดยยาแล้ว การรู้จักและ ยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้น และ พยายามจัดระเบียบให้กับตนเอง ก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และ อาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้ เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะมีสติปัญญาปกติ จนถึง ดีเลิศ 

ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่  โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือ แม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ   บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก 

ดังนั้น สมาธิสั้นรักษาได้ โดยเฉพาะการรักษาที่เริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก จะช่วยเหลือให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้  โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และ ครู ร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และ พยายามทำความเข้าใจอาการของโรค ทำความเข้าใจเด็ก ลดทัศนคติที่ไม่ดี และ ลดคำตำหนิติเตียน รวมถึงการให้กำลังใจ ให้ความสำคัญแก่เด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

นอกจากการร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างพ่อแม่ และ ครู แล้ว ความเข้าใจของบุคคลในสังคม ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากเราจะช่วยเหลือเด็กแล้ว เรายังช่วยเหลือครอบครัวของเขาด้วย แล้วอาจจะส่งผลทำให้เด็กบางคนได้แสดงความสามารถพิเศษของเขาออกมา เขาอาจจะมีความสามารถโดดเด่น เช่น โมสาร์ทหรือบุคคลสำคัญอื่นๆ ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และ ประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย 

==============================================

 ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

 kidteracy.com 

==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,775