เคล็ด(ไม่)ลับดูแลเด็กแอลดี : โรคมีปัญหาการเรียน

   

 มีคำถามถึงพ่อแม่ที่กำลังมีลูกวัยกำลังซน ยังเรียนชั้นประถมว่า ลูกของคุณมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่

     √  ประเภทลากเส้น วนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าใน หรือ ออกนอก ขีด วนๆ ซ้ำๆ 

     √  เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ

     √  เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขสลับกัน เช่น  ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9 

     √  สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์

     √  เขียนหนังสือช้า เพราะ กลัวสะกดผิด  เขียนไม่ตรงบรรทัด  ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน  ไม่เว้นขอบ  ไม่เว้นช่องไฟ  ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

    หากมีอาการอย่างที่ว่า พึงรับรู้ว่า ลูกของคุณเข้าข่ายภาวะ LD หรือ เรียกว่า " ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD) "  อาการรวมๆของ LD คือ >>>  สมาธิไม่ดี เขียนตามแบบไม่ค่อยได้  ทำงานช้า การวางแผนงานและจัดระบบ (organize) ไม่ดี  ฟังคำสั่งสับสน

       
    ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า

โรคแอลดี (LD) เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหาการเรียนบกพร่อง เกิดจากความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้  ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง  โดยความบกพร่องนี้ อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือ หลายๆด้านร่วมกัน
       
     “ ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไป มีปัญหาการเรียน จนต้องได้รับการศึกษาพิเศษ และ เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD   การศึกษาของเด็กในวัยเรียน พบว่าร้อยละ 6-10  จะมี LD เด็กชาย จะมีปัญหาได้บ่อยกว่า เด็กหญิง ในอัตราส่วน 4:1  สาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง สมองไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ เช่น เชื่อมโยงภาพตัวอักษร เข้ากับเสียงไม่ได้ และ จากกรรมพันธุ์ ”
       
นพ.ชาญวิทย์ อธิบายเพิ่มว่า LD มี 4 ประเภท คือ

1. LD ด้านการเขียนและสะกดคำ

2. LD ด้านการอ่าน

3. LD ด้านการคำนวณ

4. LD หลายๆ ด้านร่วมกัน

      เมื่อมีปัญหา ส่งผลให้เด็กจะมีพฤติกรรม  เหล่านี้

      » หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน

      » ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ

      » ต่อต้านแบบดื้อเงียบ

      » ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน และ ไม่มีสมาธิในการเรียน  ทำงานช้า  ทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน  ทำงานสะเพร่า 

      » ความจำไม่ดี  ได้หน้าลืมหลัง 

      » ขาดความมั่นใจ  กลัวครูดุ  กลัวเพื่อนล้อ  ไม่อยากมาโรงเรียน  โทษครูว่าสอนไม่ดี  เพื่อนแกล้ง 

      » เบื่อหน่าย ท้อแท้กับการเรียน  รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง  ด้อยกว่าคนอื่น 

      » ไม่มั่นใจในตัวเอง มักตอบคำถามว่า “ทำไม่ได้” ,  “ไม่รู้” 

      » อารมณ์หงุดหงิด ขึ้นลงง่าย คับข้องใจง่าย  ก้าวร้าว กับเพื่อน ครู พ่อแม่ (ที่จ้ำจี้จ้ำไช)
       
     “ โดยทั่วไปเราจะวินิจฉัย LD โดยดูความแตกต่างระหว่าง สัมฤทธิ์ผลทางการเรียน กับ ระดับสติปัญญาของเด็ก โดยถือว่าเด็กจะเป็น LD ต่อเมื่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านนั้นๆ ต่ำกว่าระดับสติปัญญา 2 ปี เช่น เด็กอายุ 10 ปี  มี I.Q.=100  แต่ปรากฏว่า ความสามารถในการอ่าน เท่ากับเด็กอายุ 7 ปี หรือ เด็กอายุ 10 ปีที่มี I.Q.=130  แต่ความสามารถในการคำนวณ เท่ากับอายุ 10 ปี  ทั้งที่เด็กควรทำได้สูงกว่านั้น ”
       
     อย่างไรก็ตาม ในเด็กบางคนที่เป็น LD  อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น  เชื่อว่าสาเหตุมาจาก สมองกลุ่มนี้พัฒนาการช้า  แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้

     แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่  หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสน และ ลำบาก  มักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนัก  คนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียน  บางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร  บางคนหางานทำไม่ได้ 
       
     นพ.ชาญวิทย์ ชี้ชัดเจน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การให้ความช่วยเหลือเด็ก เพื่อเขาจะมีพัฒนาการที่ดี และ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีขึ้นได้  วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD คือ สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียง แต่การรับภาพปกติ  ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ  ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้  พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง  พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง  ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้  อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
       
     “คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง คือ พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูด หรือ รอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูด หรือ เขียนได้ไม่คล่อง และ ต้องใช้เวลาสักนิด แสดงความรักต่อเด็ก  มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆ  พยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี  อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดี  แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม  ยอมรับนับถือในตัวเด็ก  ว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆ ในตนเองเหมือนกัน”
       
     ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีความคาดหวังที่เหมาะสมเมื่อเด็กทำผิด เช่น เขียนผิด อ่านผิด จงอย่าบ่น ช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็ก กระตุ้นให้เด็กถามคำถาม เล่าเรื่อง และ แสดงความคิดเห็น
       
     นพ.ชาญวิทย์ แนะนำว่า เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้น ร่วมด้วย  ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก  ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน อย่ามีของเล่นมากไป  อย่าเปิดโทรทัศน์ หรือ วิทยุขณะเด็กทำการบ้าน  อย่าสนใจคะแนนมากนัก เพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว  ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง 

 ====================================================

ขอขอบคุณข้อมูล และคำแนะนำดีๆ จาก
นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช

ด้วยควมปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ และ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
 กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
√ ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาเด็กสมาธิสั้น/LD
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691 
Add Line : @HealthyBrain

เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,563