สิ่งกระตุ้นอาการสมาธิสั้้น รอบตัวลูกที่ พ่อ-แม่ มักมองข้าม

ในยุคปัจจุบัน สิ่งแวดล้มและความเป็นอยู่ จะเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนมาก ทั้งในด้านของอาหารการกิน อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว ขนมกรุบกรอบของเด็กๆ การดูโทรทัศน์ การเล่นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และ วีดีโอเกม  ทำให้เด็กหมกมุ่นและติดได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีส่วนในการกระตุ้นอาการสมาธิสั้นทั้งสิ้น

การดูแลรักษาเด็กสมาธิสั้น  นอกจากจะผสมผสานการรักษาหลายๆวิธี

 ≥ การแพทย์แผนปัจจุบันด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ การใช้ยา การปรับพฤติกรรม การเสริมสร้างศักยภาพครอบครัว และ การช่วยเหลือด้านการเรียนรู้ หรือ

 ≥ วิธีการของแพทย์ทางเลือก ได้แก่ การให้สารอาหารเสริม และอื่นๆ 

เรายังต้องพิจารณาให้ความสำคัญต่อของใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม ได้แก่

1. อาหารและสารพิษ

2. การออกกำลังกาย

3. ความเครียด

4. คอมพิวเตอร์ และ  วีดีโอเกม

5. การนอนหลับพักผ่อน

1. อาหารและสารพิษของเด็กสมาธิสั้น

   มีการศึกษาและให้ข้อสังเกตหลายประการ ที่ทำให้เกิดแนวความคิดว่า สิ่งที่เด็กสมาธิสั้นรับประทานไปบางครั้ง มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กเหล่านั้น มีรายงานว่าเด็กสมาธิสั้นร้อยละ 50 ที่แพ้สารปรุงแต่งอาหาร ทั้งสารปรุงแต่งสีสังเคราะห์ สารปรุงแต่งรสชาติ และ สารกันบูด

   ในปี ค.ศ.1975  นพ. Benjamin Feingold  ได้แนะนำว่า  อาการหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น  อาจเกิดจากปฏิกิริยาจาก สารปรุงแต่งสีและสารกันบูดอาหาร ซึ่งเรียกว่า “สมมุติฐาน Feingold”

 สารอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็กสมาธิสั้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง ซนผิดปกติ ได้แก่

   √  น้ำตาล

   √  สารกันบูด

   √  สารปรุงแต่งสี และ รสชาติสังเคราะห์

   √  ผลิตภัณฑ์จากนม

   √  ช็อคโกแลต

สารพิษจากความเจริญและโลกาวิวัตน์

   ของใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม เป็นสารที่ปกติเรารับประทานอยู่ทุกวัน โดยไม่มีอาการอะไรผิดปกติ แต่สำหรับเด็กสมาธิสั้น อาจเป็นสารที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ ที่สำคัญที่จะขอกล่าวถึง

1.1. ผงชูรส – มฤตยูที่หลีกเลี่ยงยาก

    “ผงชูรส” ชื่อนี้มักจะมียี่ห้อหนึ่งที่เรามักได้ยินโฆษณากันบ่อยจนชินหูว่า “ผลิตจากธรรมชาติ” ความจริงแล้ว ผงชูรสไม่ได้เป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นจากกรดกลูตามิก (Glutamic Acid)  นอกจากนี้ เมื่อรับประทานผงชูรสเข้าไปแล้ว  จะเพิ่มสารกลูตาเมต (Glutamate) ซึ่งเป็นสารสื่อนำประสาทชนิดกระตุ้น (Excitatory Neurotransmitter) ให้เพิ่มมากขึ้น  เราทราบกันแล้วว่า เด็กสมาธิสั้น มีสารสื่อนำประสาท โดปามีน ไม่เพียงพอ และ สารโดปามีน นี้เป็นสารชนิดยับยั้ง (Inhibitory Neurotransmitter) ฉะนั้นการที่มีสารชนิดยับยั้งไม่เพียงพออยู่แล้ว แต่ไปเพิ่มสารชนิดกระตุ้นก็ยิ่งส่งผลให้อาการสมาธิสั้นรุงแรงมากขึ้น

1.2. สารให้ความหวานแอสปาแตม – ชื่อนี้ไม่มีคนรู้จัก

    เป็นสารกระตุ้น ที่ทำให้เกิดพิษได้อีกตัวหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนอกเหนือจากผงชูรส  ที่เรารู้จักกันดี แอสปาแตม เป็นสารแทนความหวาน ที่ใช้แทนน้ำตาลที่พบใน ไอศกรีม น้ำอัดลม และ  มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วไป โดยเราไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลนี้เลย  ยกตัวอย่างเช่น น้ำอัดลม

 

2. การละเลยออกกำลังกาย

    การออกำลังกาย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปทุกส่วนของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย  การออกำลังกายช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเป็นรากฐานของจิตใจที่แข็งแรง ดังนั้น จึงควรให้เด็กได้ออกกำลังกายนอกบ้าน ดีกว่าหมกมุ่นอยู่แต่ในบ้าน เล่นแต่คอมพิวเตอร์ และ วีดีโอเกม

3. ความเครียด v.s. โดปามีนในสมองส่วนหน้า

    มีการศึกษาพบว่า ความเครียดทุกชนิด เป็นตัวเผาผลาญการใช้ โดปามีน ในสมองส่วนหน้า  ทำให้โดปามีนในสมองส่วนหน้าลดลงอย่างมาก และ เนื่องจากเด็กสมาธิสั้น มีอัตตราการผลิตโดปามีนต่ำอยู่แล้ว ดังนั้น ความเครียด จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคเลวลงได้อีก หรือ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เด็กสมาธิสั้นเหล่านี้ จะทนต่อความเครียดได้น้อยมาก

4. คอมพิวเตอร์ และ วีดีโอเกม 

    ในยุคสมัยนี้คงเป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ จะติดคอมพิวเตอร์ ติดมือถือ  ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวก็คือ เมื่อเด็กจดจ่อกับสิ่งเหล่านี้มากๆ สมองจะหลั่ง โดปามีน ออกมาใช้งานมาก ซึ่งจะทำให้ โดปามีน เหลือน้อยลง สำหรับการทำการบ้าน หรือ งานบ้านอื่นๆต่อไป โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กสมาธิสั้นที่เรารู้กันดีว่า มีสารโดปามีนน้อยอยู่แล้ว

    ดร.Daniel G. Amen เชื่อว่า วีดีโอเกมและโทรทัศน์  มีส่วนทำให้ในสังคมปัจจุบัน มีเด็กสมาธิสั้นมากขึ้น ดร. Amen แนะนำว่า ทั้งการเล่นคอมพิวเตอร์และวีดีโอเกม มีผลเสีย และ เป็นอันตรายต่อเด็กสมาธิสั้น มากกว่าผลดี ดังนั้นจึงไม่ควรให้เด็กเล่นเกิน 30-45 นาทีต่อวัน

 5. การนอนหลับไม่เพียงพอ

    ปัญหาการผักผ่อนไม่เพียงพอ พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น มีทั้งการนอนหลับยาก หรือ ตื่นบ่อยตลอดคืน การอดนอนหรือนอนไม่หลับเรื้อรัง จะยิ่งส่งผลให้อาการสมาธิสั้นเลวลงได้อีก การนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสม มีความสำเร็จอย่างยิ่งต่อหน้าที่การทำงานของสมอง

    มีการศึกษาวิจัยพบว่า การนอนหลับไม่เต็มที่ หรือ การอดนอน จะทำให้สมองทำงานผิดปกติ ขาดความสนใจ ขาดสมาธิ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นเด็กสมาธิสั้น มีความผิดปกติของสมองอยู่แล้ว ถ้านอนหลับไม่เต็มที่หรืออดนอน อาการของโรคสมาธิสั้น อาจจะกำเริบ หรือ เลวลงกว่าเดิมได้

ข้อเสนอแนะในการดูแลและป้องกันเด็กสมาธิสั้น

1. ให้เด็กรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ผลไม้ ข้าวกล้อง และผักที่เต็มไปด้วยวิตามินต่างๆ

2. หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำตาล และ ของหวานอื่นๆ

3. หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ผงชุรส และ สารให้ความหวานเทียมแอสปาแตม

4. ดื่มน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม

5. นอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ เพราะ เด็กจำเป็นต้องนอนพักผ่อนให้มากๆ และตื่นแต่เช้า

6. ออกกำลังกายทุกวัน ให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด

7. หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์นานเกินไป เพราะ จะมีผลต่อคลื่นสมองของเด็กได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
นพ. มาโนช อาภรณ์สุวรรณ

======================================

♥ เปิดเทอมใหม่นี้ เตรียมความพร้อมต่อ
การเรียนรู้ให้ลูกน้อย
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้ ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

 

 

 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  095-883-6706
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,786