10 เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น

เด็กที่มีสมาธิสั้น หรือเด็กไฮเปอร์ (ADHD = Attention Deficit Hyperactivity Disorder) อาจทำให้คุณแม่หลายๆ คนเป็นกังวลไม่น้อย แต่จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยากและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาได้จากหลายๆ วิธีที่เราขอแนะนำ

เด็กสมาธิสั้น สามารถรักษาได้

ถ้าคุณแม่เป็นกังวลมาก และรู้สึกว่าลูกสมาธิสั้นผิดปกติ เพราะซน อยู่เฉยไม่ได้ ทำอะไรได้สักพักก็เลิกทำ หุนหัน ไม่อดทน หงุดหงิดง่ายและเจ้าอารมณ์ แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกของการรักษาร่วมกัน ซึ่งหลายๆ คนอาจจะได้ยาเพิ่มสมาธิ ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย ทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เพราะการที่เด็กสมาธิสั้นนั้นเกิดจากสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็กนั่นเอง

Facts!

เด็กสมาธิสั้น จะสังเกตุเห็นชัดที่สุดตอนอายุ 4-5 ปี ซึ่งก่อนอายุประมาณ 4 ปี เขาอาจจะเป็นเด็กที่ซนมาก เพราะสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ และจะทำงานเต็มที่เมื่ออายุ 4-5 ปีไปแล้ว

* 1 ใน 3 ของเด็กสมาธิสั้น เมื่อโตขึ้นเขาจะค่อยๆ หายได้เอง

* 1 ใน 3 ของเด็กสมาธิสั้น จะมีอาการดีขึ้นด้วยการปรับพฤติกรรม และรักษาด้วยยาที่ดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด

10 เทคนิคนี้ ช่วยลูกสมาธิสั้นได้

  1. ฝึกโยคะเด็ก

เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เขาอยู่กับตัวเอง และสามารถฝึกอยู่นิ่งๆ ไม่ซุกซนได้ แรกๆ อาจะทำไม่ได้แต่ฝึกไปเรื่อยๆ หาท่าใหม่ๆ ให้เขาได้ใช้จินตนาการ ลูกจะค่อยๆ สนุกและอยู่นิ่งกับโยคะได้

 2ฝึกให้ทำอะไรต่อเนื่อง 20-30 นาที โดยไม่ลุกไปไหน

อาจจะต่อจิ๊กซอว์ ประดิษฐ์ของเล่น D.I.Y. ต่อเลโก้ เพราะถึงเป็นพฤติกรรมซ้ำๆ แต่ในรายละเอียดเขาจะได้ทำอะไรแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน คุณแม่อาจนั่งอยู่ใกล้ๆ คอยช่วยเขา หลอกล่อเขาไปด้วย วิธีนี้จะช่วยให้เขาอยู่นิ่งๆ ได้สักพัก และอาจจะยาวนานขึ้นในอนาคต

 3เข้าคอร์สเพิ่มสมาธิ

ถ้าอยากให้จริงจังไปเลย เดี๋ยวนี้ก็มีคอร์สที่ช่วยเพิ่มสมาธิให้เด็กๆ ที่ฝึกโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นระบบ เหมาะสำหรับคุณแม่ที่อาจจะไม่ค่อยมีเวลา หรือมืดแปดด้านว่าไม่รู้จะฝึกลูกอย่างไรดี

 4.ไม่ตามใจ หรือ ปล่อยปละละเลยเกินไป

ช่วงแรกๆ อาจจะต้องคอยดูพฤติกรรมลูกอย่างใกล้ชิด อย่าเพิ่งเร่งรัดหรือปล่อยเขามากเกินไป คอยดูเขาอยู่เป็นระยะ อย่าให้ตึงเกินไป ถ้าดูท่าแล้วเขาเริ่มอยู่เฉยไม่ได้ ไม่มีสมาธิจนเริ่มจะดื้อแล้ว ก็อาจจะให้เขาไปทำอย่างอื่นก่อน แล้วค่อยกลับมาฝึกใหม่

 5ลดสิ่งเร้ารอบตัว

เด็กที่มีสมาธิสั้น ส่วนหนึ่งก็เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย บ่อยครั้งที่เขามักจะซุกซนอยู่เฉยๆ ไม่ค่อยได้เพราะรู้สึกว่าสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจลองเปลี่ยนบรรยากาศรอบด้าน เช่นในห้องนอนให้บรรยากาศสงบขึ้น เงียบ และจัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ เวลาที่เขานั่งทำการบ้านจะได้ไม่มีสิ่งอื่นมาทำให้วอกแวก

 6. ฝึกอยู่นิ่ง 3 นาที 5 นาที 7 นาที

ชวนเขาเล่นเกมแข่งกับคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ อาจจะเป็นเกมแปลงร่างเป็นก้อนหินแล้วจับเวลา ใครกระดุกกระดิกก่อนแพ้ เริ่มจากสั้นๆ แค่ 3นาทีดูว่าเขาทำได้ไหม ถ้าทำได้ก็ค่อยๆ เพิ่มเวลาเป็น 5 นาที 7 นาทีตามมา เวลาเขาซนมากๆ ก็ให้คุณแม่บอกเขาว่าเรามาเล่นเกมนี้กันเถอะ

 7. ไม่โทษลูก อย่าเพิ่งลงโทษเขา ให้อภัยเสมอ

คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าเด็กที่สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากนิสัยของเขา แต่เกิดจากสมอง เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจเขาแล้ว เวลาลูกทำอะไรขอให้คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งลงโทษเขา เรื่องนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป

 8. กีฬา ดนตรี ศิลปะ ตัวช่วยพิเศษ

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือศิลปะ ชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เขาชื่นชอบ ถ้าแรกๆ คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ทราบว่าลูกชอบอะไรเป็นพิเศษ ก็อาจจะชวนเล่นกีฬาง่ายๆ อย่างตีแบตฯ กระโดดเชือก ฯลฯ เล่นดนตรีที่บ้านจากกล่องกระดาษที่มีแทนกลอง หรือแม้แต่การวาดรูป ระบายสี อะไรก็ได้ ถ้าสังเกตว่าเขาชอบอะไรก็ค่อยๆ ให้ทำสิ่งนั้นโดยการเพิ่มเวลาให้มากขึ้น หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่บอกว่าไม่ถนัดเลยจริงๆ เปลี่ยนมาให้เขาช่วยงานในบ้านแทนก็ยังได้

  9. ช่วยเตือนความจำลูก

อีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นเด็กสมาธิสั้นได้ ก็คือการจดโน้ตเตือนความจำ หรือตั้งนาฬิกาปลุกสิ่งที่ลูกต้องทำ จดโน้ตย่อเวลาสอนหนังสือลูก เพื่อช่วยย่อความสำคัญให้เขาจดจำได้ง่ายขึ้น หรือเด็กบางคนอาจจะต้องใช้การออกเสียงเข้าช่วย

 10. จัดตารางชีวิตประจำวันให้ชัดเจน

ช่วยให้เด็กมีระเบียบวินัยในชีวิตประจำวัน ตื่นนอนช่วงเวลานี้แล้วไปแปรงฟัน อาบน้ำแต่งตัว ไม่ให้เขาทำอะไรตามใจไปเรื่อยทั้งวัน

=========================

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ และรูปภาพจากเว็บไซต์
paolohospital.com

ด้วยความหวังดีจาก ศูนย์สมองดี Healthy Brain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ 

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร : 091-8871691, 087-5917495
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 394,293