8 วิธีบำบัดเด็กสมาธิสั้น

     
ปัญหา "ไม่เล็ก" ที่พ่อแม่หลายคู่ต้องนั่งกุมขมับ ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรปัญหาหนึ่ง คือ เรื่องสมาธิสั้นของลูก หรือ พฤติกรรมที่ไม่ชอบอยู่นิ่งนั่นเอง หากกระนั้นก็มีวิธีแก้ไข 
 
     จิตแพทย์เด็ก อาจารย์ประจำหน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชา กุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ผศ.นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ บอกถึงสถานการณ์ปัจจุบันของอาการ "เด็กสมาธิสั้น" ว่า  ส่วนใหญ่จะพบว่า เด็กชายมีสมาธิสั้นมากกว่าเด็กหญิง เฉลี่ย 4 ต่อ 1 และ จำนวนประชากรเด็ก 5 เปอร์เซ็นต์ในโลก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม เด็กสมาธิสั้น ซึ่งพบได้มากกว่า กลุ่มออทิสติก ที่พบเพียง 5 ในหมื่นคน เท่านั้น

     "หากพ่อแม่ผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า ลูกหลานมีอาการเข้าข่ายเด็กสมาธิสั้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการวิจัยอย่างละเอียด และสามารถรักษาได้  โดยการปรับสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู พยายามให้เด็กอยู่ในบรรยากาศที่สงบและมีระเบียบวินัย  โรงเรียนก็มีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหา ครูต้องแสดงการยอมรับในความบกพร่องของเด็ก เอาใจใส่ดูแลเด็กมากขึ้น แยกจากกลุ่มเด็กซน รวมถึงให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในโรงเรียนบ้าง เช่น ช่วยครูลบกระดาน ทำความสะอาดห้องเรียน และ ดูแลเรื่องการเรียนเป็นพิเศษ จึงจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นได้อีกทางหนึ่ง"

     จิตแพทย์เด็ก ยังบอกอีกว่า ยารักษาที่ดีที่สุด คือ ความรักความใกล้ชิดจากครอบครัว จะทำให้เด็กสมาธิสั้น มีโอกาสคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น พร้อมทั้งให้ข้อคิดเด็ดๆ เป็นสุขบัญญัติ 8 ประการ เกี่ยวกับวิธีการดูแล เด็กสมาธิสั้น ให้อยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขด้วย ดังนี้


 1. อย่าเปิดทีวีเสียงดังจนเกินไป หรือ สภาพแวดล้อมในบ้าน ต้องไม่วุ่นวาย หรือ มีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง
 
 2. หามุมสงบสำหรับเด็ก เพื่อให้เกิดสมาธิในการทำการบ้าน

 3. ฝึกฝนวินัยให้เด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลย หรือ ตามใจจนทำให้เด็กติดเกมส์

 4. มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน หากไม่แน่ใจ ให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง เพราะ เด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีความอดทนในการฟัง

 5. มีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้นอย่างจริงจังและเข้าใจ

 6. จัดสภาพแวดล้อมให้เกิดความเป็นระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง

 7. อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย

 8. ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กที่มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะ จะทำให้กลายเป็นเด็กเกเร ก้าวร้าวได้  
 
อาจารย์แพทย์จิตเวชเด็ก แนะวิธีง่ายๆ บำบัดเด็กสมาธิสั้น 

     ผศ.น.พ.ชาตรี วิฑูรชาติ อาจารย์ประจำหน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า

"การได้รับความรักและความใกล้ชิดจากพ่อแม่ผู้ปกครอง มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เด้กสมาธิสั้นมีโอกาสกลับมามีชีวิตที่มีความสุขและคืนสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น และ รวมถึงการมีเวลาให้แก่กัน ทำกิจกรรมร่วมกัน รับประทานอาหารร่วมโต๊ะเดียวกัน ซึ่งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถรับรู้ได้ว่า วันนี้ลูกมีความสุข หรือ ความทุกข์ในเรื่องใดบ้าง และ ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจและสร้างสรรค์"


     นอกจากนี้ การปรับสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูให้เด็กอยู่ในบรรยากาศที่สงบ และ มีระเบียบวินัย มีส่วนช่วยบำบัดเด็กสมาธิสั้นได้อีกทาง รวมถึง โรงเรียน ซึ่งบทบาทของครูนั้น ต้องแสดงการยอมรับในความบกพร่องของเด็ก เอาใจใส่ดูแลเด็กมากขึ้น แยกจากกลุ่มเด็กซน รวมถึงการให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในห้องเรียนบ้าง เช่น ช่วยครูลบกระดาน ทำความสะอาดห้องเรียน และดูแลเรื่องการเรียนเป็นพิเศษ จึงจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

     ผศ.น.พ.ชาตรี แนะนำว่า วิธีง่ายๆ ดูแลและบำบัดเด็กสมาธิสั้น ควรเริ่มจากการเปิดโทรทัศน์ ไม่ควรเปิดเสียงดังจนเกินไป หรือ สภาพแวดล้อมในบ้านต้องไม่วุ่นวาย หรือ มีการทะเลาะกันบ่อยครั้ง หามุมสงบสำหรับเด็ก สร้างกรอบกฎเกณฑ์ มีตารางเวลาชัดเจน ไม่ปล่อยปละละเลย หรือ ตามใจจนทำให้เด็กติดเกมส์ มีการสื่อสารที่สั้น กระชับ ชัดเจน

     " หากไม่แน่ใจ ให้เด็กทบทวนว่า สิ่งที่สั่งสอนไปคืออะไรบ้าง เพราะเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีความอดทนในการฟัง  ถ้ามีความเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น อย่างจริงจัง และจริงใจ  จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เกิดความมีระเบียบ ไม่ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง อย่าทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย  ไม่ควรจับกลุ่มให้เด็กสมาธิสั้นอยู่ใกล้ชิดกับเด็กทีมีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะ จะทำให้กลายเป็นเด็กที่เกเร ก้าวร้าวได้ "

   ท้ายสุด ผศ.นพ.ชาตรี ย้ำว่า หากวันนี้พ่อแม่ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาทาง อารมณ์และจิตใจของเด็กแล้ว รวมถึง โรงเรียนเอง ก็อยากจะให้มีการสอดส่องเด็กที่มีปัญหาเฉพาะทาง และ ร่วมมือกันแก้ไขกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด ตลอดจนภาครัฐเอง ก็ควรเข้มงวดกับสื่อต่างๆ ที่จะสามารถเข้าถึงเด็กได้ ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัว ติดรั้วบ้านเลยทีเดียวหากไม่เฝ้าระวังให้ดี


 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
ทีมงาน Life and Family
==========================

==================================

♥ เตรียมความพร้อมต่อ การเรียนรู้
ให้ลูกน้อย ก่อนเปิดเทอม 
ด้วย "อเลอไทด์"

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์สมองดี HealthyBrain
สนับสนุนโดย อเลอไทด์ อาหารเสริมบำรุงสมอง
 เสริมสร้างสมาธิ เพิ่มความจำ การเรียนรู้  ให้ดีขึ้น
√ ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี
√ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
 ช่วยให้ลำดับความคิด เป็นระบบระเบียบมากขึ้น
√ ช่วยให้ปรับพฤติกรรมลูกได้ง่ายขึ้น 
 ดูแลอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น
 
**เสริมอาหารสมองให้ลูกน้อย ทำให้มี IQ และ EQ ที่ดี
ป้องกัน/ลดความเสี่ยงต่อ สมาธิสั้น ได้ด้วย "อเลอไทด์"

ปรึกษาปัญหาสมาธิสั้น/แอลดี
หรือ สั่งซื้อ อเลอไทด์

โทร :  064-469-4459
Add Line : @HealthyBrain


เพิ่มเพื่อน

Visitors: 393,568